Page 18 - รายงานการศึกษาการประเมินแนวโน้มและทิศทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
P. 18
- 6 -
โดยรูปแบบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจะมีความเชื่อมโยงอย่างเป็นพลวัตในระบบนิเวศตามธรรมชาติ
และพัฒนาการของสังคม จากพื้นที่ป่าไม้ (Forests) พื้นที่เกษตรกรรม (Agriculture) และพื้นที่ชุมชน
(Community and Development Area)
1.7.2 การเปลี่ยนแปลงการใช้ดิน (Land Use Change) เริ่มจากการเปลี่ยนพื้นที่ป่าเป็นพื้นที่
เกษตรกรรม มีกิจกรรมการตัดไม้ทำลายป่าและการดำเนินกิจกรรมทางการเกษตร เป็นปัจจัยเร่งของ
กระบวนการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG Emissions) จากที่เก็บสะสมในเนื้อไม้และใต้ดินออกสู่
บรรยากาศ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาภาวะโลกร้อน (Global Warming) และการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งส่งผลกระทบแบบไร้พรมแดน (Transboundary Impacts)
1.7.3 การศึกษาจาก IPCC (2019) รายงานผลการสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศกับการใช้ที่ดิน 3 ประเภท คือ จากเกษตรกรรม ป่าไม้ และการใช้ประโยชน์อื่น ๆ
(Agriculture, Forestry and Other Land Use: AFOLU) โดยประเมินจาก 2 ตัวแปร คือ (1) อุณหภูมิ
(ระหว่างปี พ.ศ. 2392–2443: ค.ศ. 1850–1900) และ (2) ปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ระหว่างปี
พ.ศ. 2550–2559: ค.ศ. 2007–2016) ซึ่งพบว่าการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินในระยะเวลาที่ผ่านไปส่งผลให้
อุณหภูมิโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น เช่นเดียวกับปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก 3 ประเภท ได้แก่
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO ) มีเทน (CH ) และไนตรัสออกไซด์ (N O) มีแนวโน้มสูงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงการ
2
2
4
ใช้ที่ดินแต่ละประเภท
1.7.4 วิธีการศึกษาตามหลกการ Land Use, Land Use Change and Forestry (LULUCF) โดยพจารณา
ั
ิ
การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินตามช่วงเวลา (Time Series) อ้างอิงจากคู่มือ IPCC Guideline 2006
รายงานแห่งชาติการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก ฉบับที่ 1 (Initial National Communication: INC) และ
รายงานแห่งชาติการจัดทำบัญชีก๊าซเรือนกระจก ฉบับที่ 2 (Second National Communication: SNC)
รวมทั้ง งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
ี
่
้
่
ิ
ู
ุ
้
ั
ั
ื
่
ุ
ี
่
้
่
1.7.5 พนทปาสงวนแหงชาต ปาดงหม ทองทตำบลอมเหมา อำเภอธาตพนม จงหวดนครพนม เน้อทรวม
ื
ี
่
่
1,524 ไร่ 1 งาน 92 ตารางวา ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายการจัดสรรที่ดินทำกินแก่ราษฎรสำหรับ
ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ตามนโยบายรัฐบาล ภายใต้กรอบคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.)
ซึ่งได้ดำเนินการจัดที่ดินทำกนตามข้นตอนและกระบวนการ คทช. แก่ราษฎร / เกษตรกร 198 ราย จำนวน 210 แปลง
ั
ิ
เสร็จเรยบร้อยแล้ว มีความพร้อมด้านข้อมูล ความร่วมมือของหน่วยงาน คทช. ที่เกี่ยวข้อง และเกษตรกรที่ได้รับ
ี
จัดสรรที่ดินทำกิน จึงเลือกเป็นพื้นที่ศึกษา
1.7.6 กรอบเวลาการศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน พิจารณาตามช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลง
การใช้ประโยชน์ที่ดิน ทั้งจากการกำหนดทางนิตินัยด้านกฎหมายและจากการใช้ที่ดินทางกายภาพเชิงประจักษ์
โดยเมื่อกระบวนการจัดสรร คทช. เสร็จสิ้น กรมป่าไม้ ได้มีหนังสือลงวันที่ 14 มีนาคม 2559 อนุญาตให้ราษฎร
เข้าอยู่อาศัยและทำกินได้จนถึงวันที่ 13 มีนาคม 2589 รวมระยะเวลาอนุญาต 30 ปี ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลง
การใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่ศึกษา ตั้งแต่การประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2529 การจัดสรร