Page 23 - รายงานการศึกษาการประเมินแนวโน้มและทิศทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
P. 23
- 3 -
ปะปนในตอนล่างของหน้าตัดดิน ดินมีการระบายน้ำค่อนข้างดีถึงดี เช่น ชุดดินโคราช (Kt) และชุดดิน
พระทองคำ (Ptk)
2.4 .4 ที่ลาดเชิงเขา (Piedmont) เขา (Hill) ภูเขา (Mountain) มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่น
ลอนลาดถึงเนินเขา ที่เกิดจากการที่หินผุพังสลายตัวอยู่กับที่ หรือถูกเคลื่อนย้ายโดยแรงโน้มถ่วง
ของโลกในระยะทางใกล้ ๆ และถูกควบคุมด้วยลักษณะของโครงสร้างทางธรณีวิทยา ส่วนใหญ่พบหิน
ปะปนในหน้าตัดดินและลอยหน้า จังหวัดนครพนม พบพื้นที่พัฒนาจากหินทราย ดินตื้นถึงชั้นเศษหิน
หรือหินพื้นถึงดินลึกมาก เนื้อดินเป็นทรายปนดินร่วนถึงดินร่วนปนชิ้นส่วนหยาบมาก สีแดง น้ำตาล และ
น้ำตาลปนแดง การระบายน้ำดีถึงมากเกินไป พบเศษหินปะปนในหน้าตัดดินหรือบนผิวดิน เช่น
ชุดดินวังน้ำเขียว (Wk) และชุดดินปักธงชัย (Ptc)
2.5 สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน
สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินปัจจุบันของจังหวัดนครพนม จากฐานข้อมูล Agri Map Online รายละเอียด
ตามตารางที่ 2.1
ตารางที่ 2.1: สภาพการใช้ที่ดินปัจจุบันของจังหวัดนครพนม
สัญลักษณ์ ประเภทการใช้ที่ดิน เนื้อที่
ไร่ ร้อยละ
U พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง 202,124 5.87
U101 ตัวเมืองและย่านการค้า 13,891 0.40
U201 หมู่บ้านบนพื้นราบ 112,795 3.27
U301 สถานที่ราชการและสถาบันต่าง ๆ 47,552 1.38
U401 สนามบิน 6,196 0.18
U405 ถนน 15,642 0.45
U500 พื้นที่อุตสาหกรรมร้าง 70 -
U502 โรงงานอุตสาหกรรม 3,463 0.10
U503 ลานตากและแหล่งรับซื้อทางการเกษตร 508 0.02
U601 สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ 634 0.02
U602 รีสอร์ท โรงแรม เกสต์เฮ้าส ์ 433 0.01
U603 สุสาน ป่าช้า 642 0.02
U605 สถานีบริการน้ำมัน 153 0.01
U701 สนามกอลฟ 145 0.01
์