Page 27 - รายงานการศึกษาการประเมินแนวโน้มและทิศทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
P. 27
- 7 -
ตารางที่ 2.1: สภาพการใช้ที่ดินปัจจุบันของจังหวัดนครพนม (ต่อ)
สัญลักษณ์ ประเภทการใช้ที่ดิน เนื้อที่
ไร่ ร้อยละ
M พื้นที่เบ็ดเตล็ด 154,764 4.49
M101 ทุ่งหญ้าธรรมชาติ 8,013 0.23
M102 ทุ่งหญ้าสลับไม้พุ่ม/ไม้ละเมาะ 36,215 1.05
M201 พื้นที่ลุ่ม 96,384 2.80
้
M201+A203 พื้นที่ลุ่ม+ออย 51 -
M300 เหมืองเก่า บ่อขุดเก่า 577 0.02
M301 เหมืองแร่ 338 0.01
M302 บ่อลูกรัง 661 0.02
M303 บ่อทราย 1,180 0.03
M304 บ่อดิน 1,385 0.04
M401 พื้นที่กองวัสด ุ 68 -
M403 ที่หินโผล่ 6,570 0.19
M405 พื้นที่ถม 2,259 0.07
M601 หาดทราย 802 0.02
M701 ที่ทิ้งขยะ 261 0.01
รวมทั้งหมด 3,445,418 100.00
ที่มา: กรมพัฒนาที่ดิน (2562)
หมายเหตุ: 1. การใช้ที่ดินเป็นการใช้ที่ดินทั้งในและนอกพื้นที่เขตป่าตามกฎหมาย
ื้
2. เนื้อที่ได้จากการคำนวณโดยระบบสารสนเทศ (GIS) และทำการถ่วงน้ำหนักกับเนอที่
จากกรมการปกครอง 5,512.668 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,445,418 ไร่
3. x + y หมายถึงพื้นที่ที่มีการใช้ที่ดิน 2 ครั้งต่อปี การใช้ที่ดินในฤดฝน + การใช้ที่ดินในฤดูแล้ง
ู
2.6 พื้นที่ชลประทาน
จังหวัดนครพนม มีเนื้อที่ชลประทาน 38,819 ไร่ (ร้อยละ 1.11 ของพื้นที่จังหวัด) กระจายอยู่ใน
6 อำเภอ มีอ่างเก็บน้ำที่สำคัญ 20 อ่าง มีศักยภาพในการเก็บกักน้ำได้ รวม 48.85 ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำที่สำคัญ คือ อ่างเก็บน้ำห้วยแดน มีระดับกักเก็บอยู่ที่ 0.55 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 11
ของน้ำเก็บกักของอ่างเก็บน้ำในจังหวัดนครพนม
2.7 เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ในพื้นที่จังหวัดนครพนม มีเนื้อที่ 465,916 ไร่ (ร้อยละ
13.33 ของพื้นที่จังหวัด) โดยอำเภอที่มีพื้นที่ ส.ป.ก. มากที่สุด ได้แก่ อำเภอศรีสงคราม อำเภอนาทม และ
อำเภอโพนสวรรค์ ตามลำดับ