Page 31 - รายงานการศึกษาการประเมินแนวโน้มและทิศทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
P. 31

- 3 -


                       5) จากการศึกษาทบทวนข้อมูลดินเชิงกายภาพของพื้นที่ศึกษา ซึ่งมีภูมิธรณีสัณฐานเป็นดินลุ่ม

               มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ ดินลึกมาก เนื้อดินร่วนหยาบถึงดินทรายแป้งละเอียด มีสีเทาและน้ำตาลปนเทา
               การระบายน้ำค่อนข้างเลว และเมื่อทำการซ้อนทับข้อมูลชุดดินของประเทศกับข้อมูลดินในพื้นที่ศึกษา

               ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) พบว่าพื้นที่ศึกษา คทช. ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงหมู ท้องที่ตำบลอุ่มเหม้า

               อำเภอธาตุพนม ประกอบด้วย 2 ชุดดิน คือ ชุดดินปักธงชัย (Ptc) และชุดดินสีทน (St) ซึ่งกระจายตัวปกคลุม
               พื้นที่ศึกษาในสัดส่วนต่าง ๆ แสดงตามรูปที่ 3.2 และรายละเอียดในภาคผนวก 5










































               รูปที่ 3.2: ชุดดินพื้นที่จัดสรร คทช. กรณีศึกษาป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงหมู

                   3.1.2 ที่ตั้ง

                       พื้นที่ศึกษา คทช. ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงหมู ท้องที่ตำบลอุ่มเหม้า อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
               ตั้งอยู่ระหว่างละติจูดที่ 4 องศา 11 ลิปดา 42.309 ฟิลิปดา ถึง 16 องศา 27 ลิปดา 47.159 ฟิลิปดาเหนือ และ

               ลองจิจูด 104 องศา 39 ลิปดา 1.389 ฟิลิปดา ถึง 117 องศา 39 ลิปดา51.816 ฟิลิปดาตะวันออก มีขอบเขต

               ที่ตั้ง ดังต่อไปนี้
                       ทิศเหนือ    ติดต่อ บ้านอุ่มเหม้า ตำบลอุ่มเหม้า อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

                       ทิศใต้     ติดต่อ บ้านโสกแมว ตำบลอุ่มเหม้า อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
                       ทิศตะวันออก ติดต่อ บ้านยางคำ ตำบลอุ่มเหม้า อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

                       ทิศตะวันตก  ติดต่อ บ้านโนนทัน ตำบลชะโนดน้อย อำเภอดงหลวง จังหวัดมุกดาหาร
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36