Page 34 - รายงานการศึกษาการประเมินแนวโน้มและทิศทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
P. 34

- 2 -


                   4.1.3  การสำรวจและศึกษาการกระจายตัวของปริมาณอินทรีย์คาร์บอนสะสมในดิน

                       1)  การรวบรวมและศึกษาข้อมูล
                         (1) ทบทวนและประมวลข้อมูลทรัพยากรดินของจังหวัดนครพนม แบ่งตามภูมิสัณฐาน

               ลักษณะทางธรณีวิทยา และวัตถุต้นกำเนิดดิน โดยเฉพาะการศึกษาวิเคราะห์คุณสมบัติดินทั้งทางกายภาพ

               และทางเคมี และการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ศึกษา
                         (2) กำหนดจุดเก็บตัวอย่างดินเพื่อการวิเคราะห์ผลห้องปฏิบัติการ โดยใช้วิธีการซ้อนทับข้อมูล

               แผนที่สภาพการใช้ที่ดิน และแผนที่แสดงขอบเขตแปลงพื้นที่จัดสรร คทช. ตามบัญชีรายชื่อเกษตรกร ด้วยระบบ
               สารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) โดยประเมินจำนวนจุดเก็บดินตัวอย่างตามสัดส่วนการใช้ที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ

               แต่ละประเภท ดังรูปที่ 4.1 4.2 และ 4.3 ได้ผลตามตารางที่ 4.1

                       2)  การเก็บตัวอย่างดินในภาคสนาม
                         (1) การเก็บตัวอย่างดินตามรายแปลง คทช. จำนวน 15 จุด รวม 30 ตัวอย่าง ดังตารางที่ 4.1

                         (2) การเก็บตัวอย่างดินภาคสนามโดยวิธีสุ่มจากจุดเก็บในพื้นที่ศึกษา 15 จุด แต่ละจุดจะเก็บ
               2 วิธี คือ (i) ใช้จอบขุดและเก็บดินตัวอย่าง และ (ii) ใช้เครื่องเจาะออร์เกอร์ ได้ดิน 2 ตัวอย่างในแต่ละจุด แต่ละ

               ตัวอย่างจะสุ่มเก็บ 3 จุด จากนั้นนำดินมาคลุกกันเป็น 1 ตัวอย่าง รวมแล้วได้ดิน 30 ตัวอย่าง  (ภาคผนวก 3)
                                                                                         1





























               1  การเก็บตัวอย่างดินด้วยวิธีนี้จะช่วยประหยัดเวลาและงบประมาณในการวิเคราะห์ดิน เพราะจะได้ข้อมูลดินจากจุดเก็บตัวอย่างเป็นค่าเฉลี่ย ไม่ต้องเก็บดิน
               ตัวอย่างและวิเคราะห์ทีละจุดแล้วจึงนำมาเฉลี่ยในตอนท้าย ซึ่งจะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์ดินอีกมาก
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39