Page 33 - รายงานการศึกษาการประเมินแนวโน้มและทิศทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
P. 33
- 1 -
บทที่ 4
วิธีการศึกษา
4.1 ขั้นตอนการศึกษา
4.1.1 การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
1) การศึกษา รวบรวมข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล
(1) การรวบรวมข้อมูลเชิงกายภาพที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ศึกษา คทช. ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงหมู
เพื่อจัดทำแผนที่สภาพการใช้ที่ดิน แผนที่แสดงขอบเขตพื้นที่ศึกษา และแผนที่แสดงขอบเขตแปลงจัดสรรทีดิน
่
คทช. ตามรายชื่อเกษตรกรที่ได้รับอนุญาตเข้าอยู่อาศัยและทำกิน โดยใช้มาตรส่วนแผนที่ 1 : 4,000
(2) การจัดเก็บข้อมูลด้านการใช้ที่ดิน และแปลงขอบเขตที่ดินจัดสรร คทช. ป่าสงวนแห่งชาติ
ป่าดงหมู จากแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม ตามช่วงเวลาที่สอดคล้องกับกรอบแนวคิดการศึกษา ในการวิเคราะห์
สภาพการใช้ที่ดินและการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินระหว่างปี พ.ศ. 2525–2564 (จากอดีตถึงปัจจุบัน)
2) การวิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผล
(1) การแปลแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศเป็นข้อมูลดิจิทัลการใช้ที่ดินใน 3 ระดับ (ข้อมูลการใช้
ที่ดินด้านป่าไม้ ข้อมูลการใช้ที่ดินด้านเกษตรกรรม และข้อมูลการใช้ที่ดินตามประเภทพืชเกษตร) ตามกรอบ
เวลาการศึกษา (บทที่ 3 ข้อ 3.2.2)
(2) การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประเมินรูปแบบการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน แนวโน้มและ
ทิศทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
(3) การวิเคราะห์ผลการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินตามวิธีการจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน
และการสำรวจพื้นที่ภาคสนามของกรมพัฒนาที่ดิน
4.1.2 การศึกษาสำรวจทัศนคติของเกษตรกรที่ได้รับจัดสรรที่ดินทำกิน
1) การรวบรวมและศึกษาข้อมูล
(1) การทบทวนและตรวจสอบพื้นที่จัดสรร คทช. ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงหมู ท้องที่ตำบล
อุ่มเหม้า อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม จำนวน 210 แปลง (คิดเป็นร้อยละ 100) จากบัญชีรายชื่อ
เกษตรกรที่ได้รับจัดสรรที่ดินทำกินตามนโยบาย คทช. จำนวน 198 ราย (คิดเป็นร้อยละ 100)
(2) การออกแบบและจัดทำแบบสำรวจเชิงสังคม เพื่อตรวจสอบข้อมูลเกษตรกรเกี่ยวกับ
ประวัติการถือครอง จำนวนแปลงและเนื้อที่ถือครอง และแผนการใช้ที่ดิน การสำรวจโดยการสัมภาษณ์
พร้อมสมุดประจำตัวผู้ได้รับการคัดเลือกให้ทำกินในชุมชนตามนโยบายรัฐบาลในลักษณะแปลงรวม
(สมุด คทช.) (ภาคผนวก 2)
2) การวิเคราะห์ผลการสำรวจความเห็นเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรแยกรายเพศและชาติพันธุ์
เพื่อประเมินรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินและวิถีดำเนินชีวิตตามกรอบ คทช. ทั้งในปัจจุบันและแนวโน้ม
ในอนาคต