Page 39 - รายงานการศึกษาการประเมินแนวโน้มและทิศทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
P. 39

- 7 -



                    4.1.4  การวิเคราะห์เพื่อประเมินสมรรถนะและความเหมาะสมที่ดินสำหรับพืชเศรษฐกิจ (Land

               Suitability) และไม้เศรษฐกิจ (Economic Trees) ในพื้นที่ศึกษา ตามหลักการ FAO Framework 1983
                           1) การรวบรวมและศึกษาข้อมูล

                              (1) การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลภาคสนามโดยการสำรวจทัศนคติเกษตรกรด้านการใช้ที่ดิน และศึกษา

               ข้อมูลไม้ดั้งเดิมพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงหมู
                             (2) การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลสภาพการใช้ที่ดิน และข้อมูลแผนที่เกษตรเชิงรุก (Agri-Map) จาก

               ฐานข้อมูลกรมพัฒนาที่ดิน

               4.2  การประเมินศักยภาพการดูดซับคาร์บอนบนดินตามแนวทาง IPCC 2006 และคาร์บอนใต้ดนจากผลการ
                                                                                               ิ
               วิเคราะห์ห้องปฏิบัติการ

                     4.2.1  การรวบรวมและศึกษาข้อมูล
                          (1) ประมวลผลการวิเคราะห์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน และการวิเคราะห์ผลจากแบบสำรวจ

               ทัศนคติเกษตรกรด้านการใช้ที่ดิน
                          (2) ประเมินผลการกักเก็บคาร์บอนบนดินร่วมกับผลการวิเคราะห์ปริมาณอินทรีย์คาร์บอน

               ในชั้นดินบน (ที่ระดับ 15–20 เซนติเมตร)

                    4.2.2  การประเมินแนวโน้มและทิศทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดิน
               ระหว่างปี พ.ศ. 2565–2589 ภายใต้ปีฐานของข้อมูลจากผลการศึกษาปี พ.ศ. 2525–2564 และสมมติฐานที่

               กำหนด (บทที่ 1 ข้อ 1.7.7)


               4.3  การสำรวจภาคสนามเพื่อตรวจสอบข้อมูลระดับพื้นที่
                    4.3.1 การศึกษาสำรวจข้อมูลระดับพื้นที่เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ดิน การถือครอง และ

               ขอบเขตแปลงที่ดินจัดสรร โดยใช้เครื่องตรวจวัดพิกัดตำแหน่งของพื้นที่ด้วยสัญญาณจากดาวเทียม (GPS)
               แผนที่สภาพการใช้ที่ดิน และแผนที่แสดงขอบเขตแปลงจัดสรร คทช. เนื้อที่รวม 1,524 ไร่ 1 งาน 92 ตารางวา

               (คิดเป็นร้อยละ 100)

                    4.3.2 การตรวจสอบความซ้ำซ้อนของข้อมูลที่จัดเก็บ (MRV System) จากการวิเคราะห์และ
               ประมวลผลข้อมูลเชิงกายภาพ (ตามข้อ 4.1.1) และข้อมูลเชิงสังคม (ตามข้อ 4.1.2)

                    4.3.3 การสำรวจข้อมูลภาคสนามในพื้นที่ศึกษา เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและจำแนก
               การใช้ประโยชน์ที่ดินเชิงประจักษ์ (แยกรายประเภทพื้นที่) โดยการสุ่มเลือกพื้นที่ตัวอย่าง (Sampling Sites)

               จากแผนที่ขอบเขตการใช้ที่ดินของพื้นที่ศึกษา ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทุกประเภท รวมทั้งการใช้แผนที่

               Google Earth ประกอบการสำรวจพื้นที่บริเวณที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ ซึ่งพื้นที่แต่ละแห่งจะมีการตรวจสอบ
               และบันทึกตำแหน่งของจุดสำรวจ โดยใช้เครื่องมือตรวจวัดพิกัดตำแหน่งของพื้นที่ด้วยสัญญาณจากดาวเทียม

               (GPS)
                    2


               2  ขั้นตอนนี้ถือเป็นกระบวนการทวนสอบข้อมูลตามระบบ IPCC 2006
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44