Page 182 - Phetchaburi-Prachuap Khirikhan Basin
P. 182

5-10






                                ขอเสนอแนะในการใชพื้นที่เขตเกษตรกาวหนา

                                  (1) เกษตรผสมผสาน ควรเพิ่มกิจกรรมการผลิต พืช ปศุสัตว ประมง ใหมีความ
                  เกื้อกูลกัน
                                  (2) ควรปรับปรุงบำรุงดินโดยการเพิ่มอินทรียวัตถุ เชน ปุยหมัก ปุยคอก

                  หรือปุยพืชสด เพื่อชวยปรับปรุงโครงสรางของดินเพิ่มการอุมน้ำของดินและเพิ่มธาตุอาหารที่เปน
                  ประโยชนสำหรับพืช รวมกับการใสปุยวิทยาศาสตรในอัตราสวนที่เหมาะสม
                                  (3) ควรมีการปรับสภาพพื้นที่ในแปลงนาขาว เพื่อควบคุมระดับการแชขัง
                  ของน้ำในระหวางการเพาะปลูกใหเหมาะสม

                                  (4) ปรับปรุงประสิทธิภาพแหลงน้ำตามธรรมชาติใหมีการกักเก็บน้ำไดดีขึ้น
                                  (5) พิจารณาดำเนินการพัฒนาแหลงน้ำขนาดเล็กในพื้นที่ รวมทั้งการปรับปรุง
                  ประสิทธิภาพแหลงน้ำตามธรรมชาติใหมีการกักเก็บน้ำไดดีขึ้น
                                  (6) ควรมีการขุดลอกคลองและเพิ่มทอลอดตามถนนสายหลักที่สรางขวางทางเดินน้ำ

                  เพื่อการระบายน้ำในพื้นที่ปลูกขาวเปนไปอยางรวดเร็ว ไมใหเกิดน้ำแชขังเปนเวลานานจนตนขาวเสียหาย
                                  (7) แนะนำใหมีการอนุรักษดินและน้ำเพื่อปองกันการชะลางพังทลายของดิน
                  รวมถึงการแนะนำสงเสริมใหมีการปลูกพืช และไถพรวนขวางความลาดชันของพื้นที่

                            1.2.2 เขตเรงรัดพัฒนาการเกษตร
                                มีเนื้อที่ 315,389 ไร หรือรอยละ 3.77 ของพื้นที่ลุมน้ำหลักแมน้ำเพชรบุรี-

                  ประจวบคีรีขันธ พื้นที่เขตนี้ถูกกำหนดใหเปนเขตการเกษตร ที่ตองมีการดำเนินการแกไขปญหาที่เปน
                  ขอจำกัดของการใชที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตางๆ เชน ดินเปนทรายจัดหรือดินคอนขางเปนดินทรายซึ่งมีผลตอ
                  ความสามารถในการอุมน้ำที่เปนประโยชนตอพืชต่ำ รวมทั้งปริมาณธาตุอาหารพืชในดินมีปริมาณต่ำ
                  โดยผลการประเมินความเหมาะสมของที่ดินเขตนี้สำหรับการปลูกขาวและพืชไรอยูในระดับเหมาะสมเล็กนอย

                  จากขอจำกัดการใชที่ดินดังกลาวขางตนจึงจำเปนอยางยิ่งในการพัฒนาปรับปรุงและมีมาตรการเฉพาะเพื่อเพิ่ม
                  ผลผลิตการเกษตรกรรมในพื้นที่ใหสูงขึ้นรวมถึงการปองกันระบบนิเวศมิใหเสื่อมโทรมจากการใชพื้นที่ในเขตนี้
                  ดังนั้นหนวยงานของรัฐที่เกี่ยวของ จึงจำเปนตองใหความชวยเหลือเกษตรกรในพื้นที่เขตนี้เปนพิเศษ

                  โดยเขตเรงรัดพัฒนาการเกษตรนี้สามารถแบงเขตการใชที่ดินออกเปน 3 เขต ตามศักยภาพและ
                  ความเหมาะสมของที่ดินไดดังนี้

                                1) เขตทำนา (หนวยแผนที่ 231)
                                  มีเนื้อที่ 84,196 ไร หรือรอยละ 1.01 ของพื้นที่ลุมน้ำหลักแมน้ำเพชรบุรี-
                  ประจวบคีรีขันธ มีสภาพพื้นราบเรียบหรือคอนขางราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กนอย ดินที่พบสวนใหญ

                  มีการระบายน้ำคอนขางเลวถึงดีปานกลาง มีปญหาความอุดมสมบูรณตามธรรมชาติต่ำ เนื้อดินเปนทรายจัด
                  หรือคอนขางเปนทราย เปนดินตื้น เปนดินเค็ม บางพื้นที่มีการทวมขังของน้ำ พื้นที่ในเขตนี้ดินมีความเหมาะสม
                  สำหรับการปลูกขาวเล็กนอย สภาพการใชประโยชนที่ดินในปจจุบันเกษตรกรมีการใชที่ดิน
                  เพื่อการปลูกขาวโดยอาศัยน้ำฝนเปนหลัก สามารถแบงเขตการใชที่ดินออกเปน 4 เขต

                  ตามศักยภาพและปญหาของดินไดดังนี้








                                                                         กองนโยบายและแผนการใชที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   177   178   179   180   181   182   183   184   185   186   187