Page 21 - Mae Klong Basin
P. 21

2-7





                  นักวางแผนซึ่งเปนผูเชี่ยวชาญสามารถดำเนินไดตามที่ผูมีอำนาจในการตัดสินใจมอบหมายและเปน

                  ผูปฎิบัติกรรมวิธีการวางแผน และควรมีบุคคลอีก 2 คน หรือมากกวานั้น ที่มีความชำนาญที่จะมาชวยใน
                  การวางแผน นักวางแผนจะเปนผูคัดเลือกกลุมหรือคณะที่จะมาชวยดำเนินการในการวางแผนการใชที่ดิน
                  โดยคัดเลือกจากบุคคลที่มีความชำนาญในสาขาตาง ๆ สำหรับขั้นตอนในการวางแผนการใชที่ดินมี

                  ดังตอไปนี้
                            1) ขั้นตอนที่ 1 การวางแผนโครงการเพื่อจัดทำแผน
                              ในการวางแผนการใชที่ดินโครงการใดโครงการหนึ่ง จำเปนตองวางแผนในการ
                  ดำเนินการใหเหมาะสม โดยมีการปรึกษาหารือระหวางบุคคลที่เกี่ยวของในการจัดทำแผน

                  ในการวางแผนโครงการ เพื่อจัดทำแผนจะตองมีรายละเอียดที่ตองดำเนินการ ดังนี้ (1) กำหนดพื้นที่ที่จะ
                  ทำการวางแผน ซึ่งประกอบไปดวยที่ตั้ง ขนาดขอบเขตของพื้นที่เสนทางในการเขาพื้นที่ และเหตุผลที่
                  ตองเขาไปดำเนินการวางแผนในพื้นที่ที่กำหนดไว เพื่อใหผูที่มีอำนาจตัดสินใจในการอนุมัติโครงการ
                  มีขอมูลเพียงพอที่จะอนุมัติโครงการ (2) กำหนดเปาหมายและวัตถุประสงคของโครงการใหเดนชัด

                  เพื่อจะไดกำหนดกิจกรรมในการดำเนินงานไดถูกตอง ผลการวางแผนที่ออกมาจะตอบสนองตอ
                  วัตถุประสงคและเปาหมายที่กำหนดไว (3) กำหนดกรอบของแผนและระดับของแผน จะตองวางกรอบ
                  โครงรางของใหเดนชัดวา Output ที่ออกมา คืออะไร ใครคือผูใชแผน ตองการความละเอียดของแผน
                  มากนอยแคไหน จะไดกำหนดระดับขอบแผนไดถูกตอง (4) กำหนดชวงระยะเวลาในการดำเนินงาน

                  การจัดการแผนการใชที่ดินจะตองกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานใหแนนอน อาจจะเปน 1 ป 2 ป
                  หรือ 5 ป แตระยะเวลาในการดำเนินการไมควรยาวนานมากนัก เพราะอาจจะแกไขปญหาไมทัน
                  เหตุการณ (5) จัดทำงบประมาณและเตรียมกำลังในการดำเนินการ งบประมาณในการจัดทำแผนจะตอง
                  มีรายละเอียดอยางเดนชัดวา มีคาใชจายอะไรบาง จะตองใชปละเทาใด ทั้งโครงการจะตองใชคาใชจาย

                  เทาไหร และวางแผนใชเงินที่เหมาะสม นอกจากนี้ตองพิจารณาวาอัตรากำลังคนที่มีอยูเพียงพอหรือไม
                  กับปริมาณงานและระยะเวลาที่กำหนดไว ถาไมพอจะตองใชกำลังคนเพิ่มเทาใด
                            2) ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาและวิเคราะหขอมูลทางกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม ตลอดจน
                  ความตองการของทองถิ่น แผนพัฒนาทองถิ่นและนโยบายของรัฐ ขอมูลทางกายภาพที่ศึกษาไดแก

                  สภาพภูมิประเทศ สภาพภูมิอากาศ ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ำสภาพการใชที่ดินเปนตน ขอมูลทางดาน
                  เศรษฐกิจและสังคมที่ศึกษาไดแก ลักษณะทั่วไปของประชากร การถือครองที่ดินเพื่อการเกษตร
                  ปริมาณและสภาพการผลิตทางการเกษตร แรงงานที่ใชในการเกษตร การศึกษาฯลฯ ขอมูลเหลานี้

                  จำเปนตองศึกษาอยางละเอียด เพื่อใหทราบขอมูลพื้นฐานของพื้นที่ สภาพปญหา สาเหตุของปญหาจะ
                  ไดนำมาพิจารณาหาแนวทางแกไข การศึกษาความตองการทองถิ่น แผนพัฒนาทองถิ่น จะทำใหนัก
                  วางแผนทราบวาคนในชุมชนนั้นตองการอะไร และตองการพัฒนาอะไร จะไดนำไปพิจารณากำหนดแผน
                  ใหสามารถตอบสนองตอความตองการนั้น ๆ แผนที่กำหนดขึ้นมาอาจจะแกไขปญหาไดไมหมด
                  แตก็มีทางเลือกอื่น ๆ ใหคนในชุมชนนั้นๆ ไดตัดสินใจดวยความมั่นใจวา สิ่งที่จะพัฒนานั้นมีความเปนไป

                  ไดที่จะประสบความสำเร็จสูง ลดการเสี่ยงนอกจากนี้การที่ใหคนในชุมชนไดมีสวนรวมในการจัดทำแผน
                  โอกาสในการยอมรับแผนที่กำหนดขึ้นมาก็มีสูง การนำนโยบายของรัฐไปสูแผนเปนสิ่งที่จำเปนอยางยิ่ง
                  แผนที่กำหนดขึ้นมาจะตองตอบสนองตอนโยบายของรัฐ แผนนั้นจึงจะมีความเปนไปไดสูงในการนำไปสู

                  การปฏิบัติ





                  แผนการใชที่ดินลุมน้ำหลักแมน้ำแมกลอง
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26