Page 47 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี
P. 47

3-23





                                  การประเมินการชะลางพังทลายของดิน

                                    ประเมินการชะลางพังทลายของดินมีหลายวิธีดวยกัน โดยกรมพัฒนาที่ดิน (2545) ได
                  ศึกษาและใชประโยชนในการประเมินการสูญเสียดินในประเทศไทย ดวยการใชสมการการสูญเสียดิน
                  สากล (Universal Soil Loss Equation: USLE) ของ Wischmeier & Smith ป 1978 มีรูปสมการ

                  ดังนี้
                                                     A = R K LS C P
                                        A เปนคาการสูญเสียดินตอหนวยของพื้นที่
                                        R  เปนคาที่รวมทั้งปจจัยของน้ําฝนและการไหลบา (Rainfall and runoff
                  erosivity  factor)  ซึ่งสมารถอธิบายไดจากคาความสัมพันธของพลังงานจลนของเม็ดฝนที่ตกกระทบ
                  ผิวหนาดินกับปริมาณความหนาแนนของฝนในชวงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้ไดนํา

                  คาสหสัมพันธระหวางคาปจจัยการกัดกรอนของฝน ตามวิธีการศึกษาของ Wischmeier  ที่ มนูญ
                  และคณะ (2527) ไดศึกษาไวมาวิเคราะหรวมกับขอมูลปริมาณน้ําฝนเฉลี่ยรายป
                                        K เปนคาปจจัยความคงทนตอการถูกชะลางพังทลายของดิน (Soil rodibility
                  factor)  ซึ่งภายใตสภาพแวดลอมที่คลายคลึงกันดินแตละชนิดจะทนตอการชะลางพังทลายไดแตกตาง
                  กันโดยจะเปนผลมาจากสมบัติเฉพาะของดินนั้นๆ สามารถวิเคราะหคาปจจัยที่เกี่ยวของกับลักษณะดินนี้

                  จากภาพ Nomograph โดยประเมินไดจากสมบัติของดิน 5 ประการคือ (1) ผลรวมปริมาณรอยละของ
                  ดินทรายแปงและปริมาณรอยละของทรายละเอียดมาก (2) ปริมาณรอยละของทราย (3) ปริมาณรอยละ
                  ของอินทรียวัตถุในดิน (4) โครงสรางของดิน และ (5) การซาบซึมน้ําของดิน ซึ่งกรมพัฒนาที่ดินไดศึกษา
                  ปจจัยดังกลาวและใหคาปจจัยที่เกี่ยวของกับลักษณะของดินสอดคลองตามกลุมชุดดิน (Soil group)
                                        LS  เปนคาปจจัยความลาดชันของพื้นที่ (Slope length  and slope

                  steepness factors) เปนปจจัยที่เกี่ยวของกับสภาพพื้นที่ที่มีความสําคัญตอการชะลางพังทลายของดิน
                  ใน 2 ทาง คือ ความยาวของความลาดเทและความชัน ตามปกติแลวคาการชะลางพังทลายของดินนั้น
                  จะเพิ่มขึ้นเมื่อความลาดชันสูงขึ้นและเมื่อความยาวของความลาดชันลดลง
                                        C  เปนคาปจจัยการจัดการพืช (Crop  management  factor)  เปนปจจัย
                  ที่เกี่ยวของกับพืชคลุมดิน ซึ่งพืชแตละชนิดยอมมีความตานทานในการชะลางพังทลายของดินที่แตกตาง

                  กันขึ้นอยูกับความสูงของตน ลักษณะพุม หรือการยึดอนุภาคดินของรากพืชนั้นๆ เปนตน ในกรณีที่ไมมี
                  พืชปกคลุมดินปจจัยนี้จะมีคาเทากับหนึ่ง สวนกรณีที่มีพืชปกคลุมดินจะสามารถตานทานการชะลาง
                  พังทลายของดินไดดีขึ้นสงผลใหวิธีการปลูกพืชทุกชนิดจะใหคาปจจัยนี้นอยกวาหนึ่ง
                                        P  เปนคาปจจัยการปฏิบัติปองกันการชะลางพังทลาย (Conservation
                  practice) เปนปจจัยที่แสดงถึงมาตรการอนุรักษดินและน้ําในพื้นที่นั้นๆ เชน การปลูกพืชตามแนวระดับ
                  (Contouring) การปลูกพืชสลับขวางความลาดเอียง (Strip cropping) เปนตน

                                    ทําการแบงระดับการชะลางทลายของดินออกเปนระดับความรุนแรง 5 ระดับ
                  ตามการประเมินการสูญเสียดินของประเทศไทยรายป (ตารางที่ 3 - 3)
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52