Page 44 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี
P. 44

3-18





                                      (3.3)  ดินทรายจัดในพื้นที่ดอนที่มีชั้นดานอินทรีย เนื้อที่ 8,461 ไร  หรือรอยละ

                  0.10 ของเนื้อที่จังหวัด พบตามบริเวณหาดทรายเกาหรือสันทรายชายทะเล ดินชั้นบนจะเปนทรายสีขาว
                  ถัดลงไปที่ระดับความลึกประมาณ 60 - 80 เซนติเมตร จะพบชั้นทรายสีน้ําตาลปนแดงอัดตัวแนนเปนชั้น

                  ดาน เกิดจากการจับตัวกันของสารประกอบจําพวกเหล็กและอินทรียวัตถุ ในชวงฤดูแลง ชั้นดานจะแหง
                  และแข็งมาก พบมากที่สุดในพื้นที่อําเภอไชยา รองลงมาคืออําเภอทาชนะ

                                  (4)  ดินตื้น เนื้อที่ 301,029 ไร หรือรอยละ 3.76 ของเนื้อที่จังหวัด เปนดินตื้นที่พบ
                  ชั้นลูกรัง ชั้นกรวด ชั้นหิน เศษหินปะปนอยูในเนื้อดินเทากับหรือมากกวารอยละ 35 โดยปริมาตร

                  หรือชั้นหินพื้นอยูตื้นกวา 50 เซนติเมตรจากผิวดิน ทําใหเปนอุปสรรคตอการชอนไชของรากพืช
                  และการไถพรวน สงผลใหพืชไมสามารถเจริญเติบโตไดดี และใหผลผลิตต่ํา ความสามารถในการดูดซับ
                  น้ํา  และธาตุอาหารต่ํา เนื้อดินเหนียวมีนอย ทําใหการเกาะยึดตัวของเม็ดดินไมดี เกิดการชะลาง

                  พังทลายไดงาย   ดินตื้นแบงออกเปน 3 ประเภท
                                      (4.1)  ดินตื้นในพื้นที่ลุม มีการระบายน้ําเลว เนื้อที่ 2,515 ไร หรือรอยละ 0.03

                  ของเนื้อที่จังหวัด พบในพื้นที่อําเภอพนม
                                      (4.2)  ดินตื้นในพื้นที่ดอน ถึงชั้นลูกรัง กอนกรวด หรือเศษหิน เนื้อที่

                  209,001 ไร หรือรอยละ 2.60 ของเนื้อที่จังหวัด พบมากที่สุดในพื้นที่อําเภอทาฉาง รองลงมาคืออําเภอ
                  บานนาสาร

                                      (4.3)  ดินตื้นในพื้นที่ดอน ถึงชั้นหินพื้น เนื้อที่ 89,513 ไร  หรือรอยละ 1.13
                  ของเนื้อที่จังหวัด พบมากที่สุดในพื้นที่อําเภอวิภาวดี รองลงมาคืออําเภอพนม
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49