Page 187 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดสุราษฎร์ธานี
P. 187

ผ-28





                  สวนยางพารา หากมีการทําสวนยางพาราแบบวนเกษตรได จะกอใหเกิดประโยชนในภาพรวมตอมหาชน

                  และประเทศชาติทั้งทางตรงและทางออม การสนับสนุนใหจัดทําระบบวนเกษตรยางพาราเปรียบเสมือน
                  สวนเสริมใหมีคลังอาหาร เปนภูมิคุมกันชีวิต มีคลังยาสมุนไพรในทองถิ่นและที่ดินตนเอง ชวยแกปญหา
                  สังคมไปไดดวยในเวลาเดียวกัน สอดคลองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

                      ดวยศักยภาพของระบบวนเกษตรยางพารา จึงเปนแนวทางการจัดการทรัพยากรที่ดินใหเกิด
                  ประโยชนไดอยางมีประสิทธิภาพมากขึ้น และมีความยั่งยืนในระยะยาว สนองพระราชดําริฯ นโยบาย
                  ของรัฐ และหากมีการขยายพื้นที่ออกไป จะชวยฟนฟูพื้นที่ลุมน้ําไดแนวทางหนึ่งดวย ทั้งนี้ ผูมีสวน
                  เกี่ยวของสามารถรวมมือกันผลักดันใหสวนวนเกษตรยางพาราเกิดขึ้นไดในอนาคต  ซึ่งจะไดประโยชน
                  รวมกัน

                      โดยสรุป การปรับเปลี่ยนพื้นที่ยางพาราบางสวน เพื่อปลูกพืชอื่นๆ เชน ปาลมน้ํามัน กลวย กาแฟ
                  อโวกาโด และพืชอื่นๆ ทั้งนี้ การเลือกปลูกพืชชนิดใดชนิดหนึ่งจะตองคํานึงถึง การตลาดในพื้นที่ สภาพ
                  พื้นที่ รอบระยะเวลาการใหผลตอบแทน เชน มีรายไดเปนรายวัน รายสัปดาห รายเดือน และรายป

                  และในแตละชุมชนควรมีการรวมกลุมผลิตพืชที่มีคุณภาพดี มีเอกลักษณและกําลังเปนที่ตองการของ
                  ผูบริโภค
                  4.  การวิเคราะหทางเลือกในการลดพื้นที่ปลูกยางพารา
                      สืบเนื่องจากยางพารามีราคาตกต่ํา เกษตรกรในพื้นที่ตําบลปารอน อําเภอกาญจนดิษฐ จังหวัด
                  สุราษฎรธานี ไดแสดงความจํานงที่จะหาพืชอื่นมาปลูกทดแทนยางพารา จึงไดมีการวิเคราะหทางเลือก

                  ในการลดพื้นที่ปลูกยางพารา โดยมีพืชที่จะทดแทน รวม 6 ชนิด คือ
                            ไมโตเร็ว                                              ไมไผ
                            โกโก                                                  กาแฟ

                            สมุนไพร                                                ผักอินทรีย
                      โดยมีรายละเอียดดังนี้
                      4.1  ไมโตเร็ว
                          หลังจากมีการยกเลิกสัมปทานปาไมในป 2532 แลว ประเทศไทยไดมีการนําไมทอน

                  ไมแปรรูปจากตางประเทศมีมูลคาสูงมาก ในป 2561 การนําเขาไมมีมูลคา 18,039.79 ลานบาท
                          ความเปนไดที่จะนําไมโตเร็วมาปลูกทดแทนยางพารา มีหลักการและเหตุผล ดังนี้
                          เมื่อเดือนมิถุนายน 2560 คณะวนศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร ไดลงนาม
                  ความรวมมือกับบริษัท JCS  แหงประเทศญี่ปุน เพื่อวิจัยและงานนวัตกรรมการจัดการวัตถุดิบเชื้อเพลิง

                  พลังงานจากไมโตเร็วสําหรับโรงไฟฟาชีวมวลในประเทศญี่ปุนในระยะยาว โดยมุงเนน “การผลิตไมโตเร็ว
                  เพื่อพลังงาน” ทั้งนี้ การจัดการสวนยางพาราแบบผสมผสาน ตองเปนไปตามระบบมาตรฐานการจัดการ
                  อยางยั่งยืน โดยยึดแนวทางของ Forest Stewartship Council (FSC)
                          ความตองการที่กําหนดไวในการลงนามความรวมมือครั้งนี้ คือ “เชื้อเพลิงกอนพลังงาน

                  อัดเม็ดหรือ Wood Pellet” เพื่อใชในโรงไฟฟาชีวมวล จํานวน 20 โรง แตละโรงมีกําลังผลิตไฟฟา
                  ขนาด 50 MW        ที่ตองใช Wood   Pellet    จากประเทศไทยไมนอยกวาปละ 5 ลานตัน
                  (www.facebook.com/Kasetsart University/posts/10155493455447451)
   182   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192