Page 63 - แผนการใช้ที่ดินเพื่อการผลิตข้าวคุณภาพสูงรายพันธู์ กข43
P. 63

3-21





                        3.2.2 การจำแนกชั้นความเหมาะสมของที่ดิน

                            การจำแนกชั้นความเหมาะสมของที่ดิน (land suitability classification) จากหลักการ
                  ของ FAO framework ได้จำแนกอันดับความเหมาะสมของที่ดินเป็น 2 อันดับ (order) คือ
                              1) อันดับที่เหมาะสม (order S: Suitability)

                              2) อันดับที่ไม่เหมาะสม (order N: Not suitability)
                            และจาก 2 อันดับ ได้แบ่งย่อยออกเป็น 4 ชั้น (class) คือ
                              S1 หมายถึง ชั้นที่มีความเหมาะสมสูง (highly suitable)
                              S2 หมายถึง ชั้นที่มีความเหมาะสมปานกลาง (moderately suitable)
                              S3 หมายถึง ชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย (marginally suitable)

                              N หมายถึง ชั้นที่ไม่มีความเหมาะสม (not suitable)
                            ชั้นย่อยเป็นชั้นที่แสดงอิทธิพลของการเจริญเติบโตของพืช ประกอบด้วย
                              1) ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง : h

                              2) ความลึกของดิน : e
                              3) ปริมาณธาตุฟอสฟอรัส (Phosphorus) : p
                              4) ปริมาณธาตุโพแทสเซียม (Potassium) : k
                              5) ปริมาณอินทรียวัตถุ (Organic matter) : m

                              6) ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (Cation Exchange Capacity) : c
                              7) ความอิ่มตัวด้วยค่าด่าง (Base Saturation) : b
                              8) ความเค็ม (EC) : x
                              9) ปริมาณน้ำในช่วงการเจริญเติบโต : r

                                                                    ื้
                              10)  การระบายน้ำตามลักษณะของสภาพพนที่ : a
                              11)  การระบายน้ำตามลักษณะของการซาบซึมน้ำ : w
                              12)  การระบายน้ำของดิน : o
                              13)  ปริมาณน้ำที่มีผลต่อการงอก : g

                            การประเมินความเหมาะสม โดยการจับคู่ระหว่างความต้องการของประเภทการใช้
                  ประโยชน์ที่ดินกับคุณภาพที่ดิน ซึ่งจะพิจารณาแต่ละคุณภาพที่ดินในหน่วยที่ดินนั้น ๆ ที่มีข้อจำกัด
                  รุนแรงที่สุด ที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืช จะใช้ระดับความเหมาะสมของ

                  คุณภาพที่ดินนั้นเป็นตัวแทนความเหมาะสมรวมของหน่วยที่ดิน ได้แสดงระดับความต้องการปัจจัยต่อ
                  การเจริญเติบโตของข้าวพันธุ์ กข43 มีรายละเอียดดังตารางที่ 3-9 สามารถสรุปรายละเอียดได้ดังนี้
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68