Page 58 - แผนการใช้ที่ดินเพื่อการผลิตข้าวคุณภาพสูงรายพันธู์ กข43
P. 58

3-16





                  3.2  การประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพ

                        การประเมินคุณภาพที่ดิน (Qualitative Land Evaluations) เป็นการพิจารณาศักยภาพของ
                  หน่วยทรัพยากรที่ดินต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่าง ๆ ในระดับการจัดการที่แตกต่างกัน วิธีการ

                                                                                                    ่
                  ประเมินคุณภาพที่ดินมีหลายวิธี กลุ่มวางแผนบริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำได้เลือกใช้วิธีการประเมินคุณภาพทีดิน
                  ในหลักการของ FAO Framework สามารถทำได้ 2 รูปแบบ
                        รูปแบบแรก การประเมินทางด้านคุณภาพหรือเรียกอกอย่างหนึ่งว่า เป็นการประเมินเชิงกายภาพ
                                                                   ี
                  ว่าที่ดินนั้น ๆ เหมาะสมสูงหรือน้อยเพียงใดต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่าง ๆ

                        รูปแบบที่สอง การประเมินทางด้านปริมาณหรือด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจะให้ค่าตอบแทนในรูปผลผลิต
                  ที่ได้รับ จำนวนเงินในการลงทุนและจำนวนเงินจากผลตอบแทนที่ได้รับ
                        การประเมินคุณภาพที่ดินในที่นี้ประเมินเฉพาะการประเมินเชิงกายภาพเท่านั้น โดยชนิดของพันธุ์ข้าว
                  (กองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว, 2559) สามารถแบ่งตามประเภทได้ดังนี้

                        •  แบ่งตามนิเวศน์การปลูก สามารถแบ่งได้ดังนี้
                          ข้าวนาสวน (Lowland Rice) คือ ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำขังหรือกักเก็บน้ำได้ระดับน้ำลึก
                  ไม่เกิน 50 เซนติเมตร ข้าวนาสวนมีปลูกทุกภาคของประเทศไทย แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ ข้าวนาสวนนาน้ำฝน

                  และข้าวนาสวนนาชลประทาน
                          - ข้าวนาสวนนาน้ำฝน (Rainfed lowland Rice) เป็นข้าวที่ปลูกในฤดูนาปีและอาศัยน้ำฝน
                                                                                                ื้
                  ตามธรรมชาติ ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการกระจายตัวของฝน ประเทศไทยมีพนที่ปลูก
                  ข้าวนาน้ำฝนประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด
                          - ข้าวนาสวนนาชลประทาน (Irrigated lowland Rice) เป็นข้าวที่ปลูกได้ตลอดทั้งปีในนา
                  ที่สามารถควบคุมระดับน้ำได้ โดยอาศัยน้ำจากการชลประทาน ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวนาชลประทาน
                  24 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด และพื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในภาคกลาง
                          ข้าวขึ้นน้ำ (Floating Rice) คือ ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำท่วมขังในระหว่างการเจริญเติบโตของข้าว

                  มีระดับน้ำลึกตั้งแต่ 1-5 เมตร เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 1 เดือน ลักษณะพิเศษของข้าวขึ้นน้ำ คือ
                  มีความสามารถในการยืดปล้อง (internode elongation ability) การแตกแขนงและรากที่ข้อเหนือผิวดิน
                  (upper nodal tillering and rooting ability) และการชูรวง (kneeing ability)

                          ข้าวน้ำลึก (Deepwater Rice) คือ ข้าวที่ปลูกในพื้นที่น้ำลึก ระดับน้ำในนามากกว่า
                  50 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 100 เซนติเมตร
                                                                                                    ้
                          ข้าวไร่ (Upland Rice) คือ ข้าวที่ปลูกในที่ดอนหรือในสภาพไร่ บริเวณไหล่เขาหรือพืนที ่
                  ซึ่งไม่มีน้ำขัง ไม่มีการทำคันนาเพื่อกักเก็บน้ำ

                          ข้าวนาที่สูง คือ ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำขังบนที่สูงตั้งแต่ 700 เมตรจากระดับทะเลปานกลางขึ้นไป
                  พันธุ์ข้าวนาที่สูงต้องมีความสามารถทนทานอากาศหนาวเย็นได้ดี
                        •  แบ่งตามการตอบสนองต่อช่วงแสง สามารถแบ่งได้ดังนี้

                          ข้าวไวต่อช่วงแสง (Photoperiod sensitivity Rice) เป็นข้าวที่ออกดอกเฉพาะเมื่อ
                  ช่วงเวลากลางวันสั้นกว่า 12 ชั่วโมง โดยพบว่าข้าวไวต่อช่วงแสงในประเทศไทยมักจะออกดอก
                  ในเดือนที่มีความยาวของกลางวันประมาณ 11 ชั่วโมง 40 นาที หรือสั้นกว่านี้ ดังนั้นข้าวที่ออกดอกได้
                  ในเดือนที่มีความยาวของกลางวัน 11 ชั่วโมง 40-50 นาที จึงได้ชื่อว่าเป็นข้าวที่มีความไวต่อช่วงแสงน้อย
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63