Page 60 - แผนการใช้ที่ดินเพื่อการผลิตข้าวคุณภาพสูงรายพันธู์ กข43
P. 60

3-18





                  มีอิทธิพลต่อการงอกของเมล็ดต่อการออกดอกของพืชบางชนิด และมีส่วนสัมพันธ์กับขบวนการสังเคราะห์แสง

                  ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช
                              -  ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง : h
                            2) การหยั่งลึกของราก

                              สภาวะการหยั่งลึกของราก (rooting conditions) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน
                  ได้แก่ ความลึกของดิน (effective soil depth) และความลึกที่พบชั้นกรวด ซึ่งจะมีส่วนสัมพันธ์กับความลึก
                               ื
                                             ื่
                  ของระบบรากพชในการหยั่งลึกเพอหาอาหารและยึดลำต้น ดินที่มีความลึกมากโอกาสที่รากจะเจริญเติบโต
                  ก็เป็นไปได้ง่าย
                              -  ความลึกของดิน : e

                            3) ธาตุอาหาร ประกอบด้วย
                              (1) ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร (nutrient availability) คุณลักษณะที่ดิน
                  ที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ปริมาณธาตุอาหารพืชในดิน ในที่นี้พิจารณาเฉพาะธาตุฟอสฟอรัสและธาตุโพแทสเซียม

                  ซึ่งเป็นธาตุอาหารที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชทุกชนิด ประกอบกับการพิจารณาถึงปฏิกิริยาดิน
                  ซึ่งจะมีผลต่อลักษณะทางเคมีของธาตุอาหารพืชในดินที่อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำธาตุนั้นไปใช้ได้หรือไม่
                  นอกจากนั้นแล้วปฏิกิริยาดินจะมีผลต่อกิจกรรมของจุลินทรีย์ดิน ซึ่งมีส่วนสำคัญในขบวนการย่อยสลาย
                  อินทรียวัตถุด้วย

                                -  ปริมาณธาตุฟอสฟอรัส (Phosphorus) : p
                                -  ปริมาณธาตุโพแทสเซียม (Potassium) : k
                                -  ปริมาณอินทรียวัตถุ (Organic matter) : m
                              (2) ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (nutrient retention capacity) คุณลักษณะที่ดิน

                  ที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (Cation Exchange Capacity: CEC) และ
                  ความอิ่มตัวด้วยค่าด่าง (Base Saturation: BS) โดยที่ปัจจัยทั้งสองนี้มีผลทางอ้อมต่อการเจริญเติบโต
                  ของพืชในเรื่องปริมาณธาตุอาหารที่ดินสามารถดูดยึดและการปลดปล่อยธาตุอาหารให้เป็นประโยชน์ต่อพืช
                                -  ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (Cation Exchange Capacity) : c

                                -  ความอิ่มตัวด้วยค่าด่าง (Base Saturation) : b
                              (3) การมีเกลือมากเกินไป (excess of salts) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่
                  ปริมาณเกลืออิสระที่สะสมมากเกินพอจนเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของพืช ถ้ามีเกลือสะสมในดินมาก

                  ปริมาณน้ำในรากพืชและต้นพืชจะถูกดูดออกมา ทำให้ต้นพืชขาดน้ำ และถ้าความเค็มมีระดับสูงมาก
                  อาจทำให้พืชตายได้ พืชแต่ละชนิดจะมีความสามารถในการทนทานต่อปริมาณเกลือแตกต่างกันไป
                                -  ความเค็ม (EC) : x
                            4) น้ำ ประกอบด้วย
                              (1) ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์ต่อพืช (moisture availability) คุณลักษณะที่ดิน

                  ที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ความต้องการน้ำในช่วงการเจริญเติบโตของพืช (water in growing period)
                  โดยปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในแต่ละพื้นที่ จะมีส่วนหนึ่งซึมลงในดินเมื่อดินอิ่มตัวด้วยน้ำแล้วส่วนที่เหลือ
                  จะไหลบ่าออกไปจากพื้นที่ ปริมาณน้ำฝนที่เหลืออยู่ในดินซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้เรียกว่า
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65