Page 38 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล
P. 38

2-26





                  เฉลี่ย 1-2  งาน มีการท าสินค้า OTOP จ าหน่ายในชุมชน เช่น สบู่ ลูกประคบ เป็นต้น มีการปลูกขมิ้นชัน

                  กับไพลอย่างชัดเจน อยู่ในรัศมี 5 กิโลเมตร แต่ไม่ได้ปลูกร่วมกัน พื้นที่ปลูกอยู่ใกล้กับโรงพยาบาลเชียงของ
                  ไม่มีการปลูกพืชสลับหมุนเวียน
                             - กลุ่มวิสาหกิจชุมชนปลูกพืชสมุนไพรด่านทับตะโก หมู่ที่ 13 ต าบลด่านตะโก อ าเภอจอมบึง

                  จังหวัดราชบุรี อยู่ในโครงการจัดตั้งระบบเทคโนโลยีพลังงานทดแทน เพื่อส่งเสริมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
                  ด้วยระบบอบแห้งด้วยพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจก จ านวน 1 ระบบ ด าเนินการโดยส านักงาน
                  พลังงานจังหวัดราชบุรี แปลงเกษตรกรไม่ได้ขึ้นทะเบียนของกรมส่งเสริมการเกษตร ในหมู่ที่ 13 เป็น
                  กลุ่มที่มีการปลูกขมิ้นชันเป็นส่วนใหญ่ และมีปลูกไพลบ้างแต่พบปัญหาการปลูกไพลเมื่อเริ่มให้ผลผลิตหัว
                  จะเริ่มเน่า นอกจากนี้ยังมีว่านเอ็นเหลือง และว่านมหาเมฆด้วย

                             - บ้านสะพานลาว ต าบลสหกรณ์นิคม อ าเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี มีการปลูกพืช
                  สลับหมุนเวียนกัน โดยมีขมิ้นชัน ไพล และมันส าปะหลัง แต่ปลูกส่วนน้อย มีเว้นระยะในการปลูก 1-2 ปี
                  ถ้าราคาดีปลูก 1 ปีต่อครั้ง แต่ถ้าหากราคาลดลงปลูก 2 ปีต่อครั้ง ส่วนใหญ่ปลูกไพล 2 ปี โดยมี

                  โรงพยาบาลบ้านฉางเป็นแหล่งผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับสมุนไพร มักมีปัญหาที่เกิดจากการเก็บผลผลิตและ
                  ปัญหาในการรับซื้อผลผลิต และความสูงจากระดับน้ าทะเลที่มีผลต่อผลผลิต
                             - ต าบลแม่กระบุ้ง อ าเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี มีการปลูกขมิ้นชันกับไพล แต่จะ
                  ปลูกขมิ้นชันมากกว่า จะปลูกไพลส่วนน้อยเนื่องจากปลูกแล้วได้ผลผลิตไม่ดีเพราะเน่า และมีการปลูก

                  ข้าวโพดและพริกสลับหมุนเวียนกันไป ส่วนต าบลนาสวน อ าเภอศรีสวัสดิ์ มีพื้นที่ปลูกไพลและขมิ้นชัน
                  โดยจะมีพื้นที่ปลูกไพลมากกว่าอ าเภอทองผาภูมิ
                             - บ้านต้นมะพร้าว ต าบลแม่กระบุง อ าเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี เกษตรกรมีแปลง
                  ปลูกไพล 40 ไร่ ได้ผลผลิตประมาณ 5-7.5 ตันต่อไร่ มีการปลูกไพลไว้ 2 ปีครึ่งจึงเก็บผลผลิต เนื่องจาก

                  ราคาของไพลมีราคาที่ต่ าลง ราคากิโลกรัมละ 5-6 บาท และยังมีต้นทุนค่าขุดหลุมละ 3 บาท ส่งโรงงาน
                  มีการประกันราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 8 บาท
                             - บ้านหนองเรือ หมู่ที่10 ต าบลท่าตะเกียบ อ าเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา พื้นที่
                  เดิมมีการปลูกพืชเชิงเดี่ยวมันส าปะหลัง ได้มีส านักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมเข้าไปสนับสนุนให้

                  เกษตรกรปลูกพืชสมุนไพร และมีปราชญ์พื้นบ้านสอนท าน้ ามันไพล เป็นกลุ่มรวบรวมเกี่ยวกับไพล เป็น
                  สวนเกษตรทฤษฎีใหม่ (เกษตรผสมผสาน) มีแปลงเรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรหลายชนิด และจะยื่น
                  เปลี่ยนเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ได้มีการปลูกไพลมาเป็นระยะเวลา 2 ปี ในการปลูกไพลเกษตรกรจะปลูก

                  เป็นพืชแซมระหว่างพืชหลักหรือพื้นที่ว่างในสวน ราคากิโลกรัมละ 15 บาท ผลผลิต 4 ตันต่อ 1 ไร่
                  เกษตรกรจะใช้พื้นที่ในการปลูกประมาณ 50 ตารางวาต่อครัวเรือน เฉลี่ยได้ครัวเรือนละ 500 กิโลกรัม
                  ด้วยสภาวะทางเศรษฐกิจที่ซบเซาท าให้ราคาลดลงต่ ามาก และผลผลิตมีมากกว่าความต้องการของผู้รับซื้อ
                  ปัญหาที่เกษตรกรพบบ่อยนั้นก็คือมีปริมาณน้ าที่ไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก
                             - กลุ่มวิสาหกิจชุมชน หมู่บ้านทับทิมสยาม 05 หมู่ที่ 10 ต าบลคลองไก่เถื่อน อ าเภอคลองหาด

                  จังหวัดสระแก้ว เป็นโครงการภายใต้สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ มีทั้งหมด 8 ศูนย์ ได้รับการสนับสนุนและ
                  ส่งเสริมให้มีการปลูกพืชสมุนไพรในพื้นที่ ท าให้เกิดการรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มผู้ปลูกสมุนไพรในหมู่บ้าน
                  จากนั้นจึงมีการน าสมุนไพรที่ปลูกได้มาจ าหน่ายให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแปรรูปสมุนไพรทับทิมสยาม 05

                  โดยกลุ่มมีหลักการในการหาตลาดที่ชัดเจนก่อน คือเชื่อมโยงกับโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล                         กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43