Page 39 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล
P. 39

2-27





                  โรงพยาบาลแพทย์แผนไทยวังน้ าเย็น และรายย่อยๆ ส่วนหนึ่งจะแปรรูปเป็นสมุนไพรอบแห้งหรือ

                  สมุนไพรตากแห้ง ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อจ าหน่ายเอง แต่เน้นเป็นศูนย์การเรียนรู้มากกว่า แปรรูป
                  เช่น ยาหม่องไพล ยาหม่องเสลดพังพอน น้ ามันไพล ยาดมสมุนไพร ลูกประคบ สบู่แบบก้อนและสบู่เหลว
                  สครับขมิ้นชัน เครื่องดื่มจากสมุนไพรต่างๆ เป็นต้น และได้รับการสนับสนุนขึ้นทะเบียนเป็นสินค้า OTOP แล้ว

                  ที่กลุ่มจะปลูกขมิ้นชันและไพลเป็นจ านวนมาก โดยท าสัญญาไพลกับอภัยภูเบศ 2 ปีต่อครั้ง แต่ก่อนที่
                  จะท าสัญญาซื้อขาย ทางอภัยภูเบศรได้ลงมาส ารวจพื้นที่ก่อนปลูกประมาณ 3 ปี เพื่อน าดินไปวิเคราะห์
                  ตรวจหาสารเคมีตกค้าง ผลผลิตมีสารส าคัญได้มาตรฐานหรือไม่ และถ้ามีปัญหาควรแก้ไขและมีวิธีการ
                  ปรับปรุงบ ารุงอย่างไร กลุ่มก าหนดให้อยู่ในระบบเกษตรอินทรีย์มีสมาชิกทั้งหมด 51 คน มีสมาชิก
                  เกษตรกรเพาะปลูก 40 รายขึ้นไป กลุ่มแปรรูป และกลุ่มผู้ถือหุ้น พื้นที่เดิมปลูกพืชไร่ ข้าวโพด ถั่วเหลือง

                  แต่เมื่อมีการสนับสนุนเข้ามาได้แบ่งพื้นที่ในการปลูกสมุนไพรร่วมด้วย พื้นที่ปลูกสมุนไพรประมาณ 100
                  กว่าไร่ มีพืชสมุนไพรชนิดอื่นร่วมอยู่ด้วยนอกเหนือจากไพลและขมิ้นชัน พื้นที่ปลูกไพลกับขมิ้นชัน
                  ประมาณ 40-50 ไร่ จะปลูกโซนเดียวกัน ใกล้กัน แต่ไม่ได้ปลูกด้วยกัน ปลูกเป็นระยะเวลา 2 ปี และน า

                  พืชอื่นๆ มาปลูกสลับกัน มีการปลูกปอเทืองแล้วไถกลบและปลูกไพลตามฤดูกาล (ปลูกช่วงกลางปี เก็บ
                  ผลผลิตช่วงปลายปี) ผลผลิตไพลอายุ 2 ปีจะอยู่ที่ 10-12 ตันต่อไร่ ปัญหาที่ส่งผลกระทบคือน้ าฝน
                  เพราะอากาศร้อนและแห้งแล้งมาก ดินค่อนข้างเป็นดินเหนียว และเป็นด่าง ต้องเพิ่มอินทรียวัตถุ และ
                  ปุ๋ยพืชสดโดยได้รับการสนับสนุนจากกรมพัฒนาที่ดินทุกปี เช่น ปอเทือง

                             - บ้านลานทอง หมู่ที่ 4 ต าบลเขาวงกต อ าเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี เป็นศูนย์การ
                  เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรกิจกรรมการผลิตยางพาราและพืชสมุนไพร จะเป็น
                  ระบบเกษตรอินทรีย์ทั้งไม้ยืนต้น ไม้ผล ไม้เถา และพืชสมุนไพรชนิดต่างๆ ในส่วนของขมิ้นชันและไพล
                  มีเกษตรกรเพาะปลูกอยู่ทั้งหมด 36 ราย ไพลปลูกรายละ 2 งาน หรืออาจเป็นไร่ แล้วแต่พื้นที่เพาะปลูก

                  ของแต่ละราย แต่พื้นที่การเพาะปลูกนั้นต้องเป็นระบบอินทรีย์ผ่านมาตรฐาน 3 ข้อของกลุ่ม
                  (1) มาตรฐาน PGS ของกลุ่ม (2) มาตรฐานออแกรนิคไทยแลนด์ (3) มาตรฐานวัตถุดิบเกษตรอินทรีย์
                  IFOAM-Accredited ACT แปลงปลูกของเกษตรกรต้องผ่าน 3 มาตรฐานนี้ถึงจะสามารถปลูกและอยู่ใน
                  กลุ่มนี้ได้ ส่วนใหญ่จะปลูกเป็นพืชแซมระหว่างพืชหลัก ผลผลิตไพลได้ 4-6 ตันต่อไร่ ราคารับซื้อสดถ้า

                  หากล้างแล้วกิโลกรัมละ 20-25 บาท ถ้าหากยังไม่ล้างกิโลกรัมละ 15 บาท โดยมีการดูแลด้วยการใส่ปุ๋ย
                  คอก ปุ๋ยหมัก หรืออาจจะมีการเติมถ่าน ดินเป็นดินลูกรัง มีอุณหภูมิกลางวันกับกลางคืนต่างกัน 10°C
                  อาจท าให้มีผลต่อผลผลิตในด้านสารส าคัญ การเติบโตของพืชสมุนไพร ไพลให้สารส าคัญได้ดีและมีขนาด

                  หัวใหญ่ และยังมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่นท าลูกประคบ ผลิตยาสมุนไพร น้ ามันไพล น้ ามันเหลือง
                  เป็นต้น



















                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล                         กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44