Page 134 - pineapple
P. 134

4-34





                  เนื้อที่ 47,504 ไร่ เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงานที่ควรสนับสนุนการปรับเปลี่ยนการ

                  เพาะปลูกพืชชนิดอื่นแทน (Z-III) มีเนื้อที่ 49,962 ไร่ และเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดเพื่อการ
                  บริโภคผลสด (Z-IV) มีเนื้อที่ 29,070 ไร่

                          2) ในกําหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน ในพื้นที่ที่เหมาะสมตาม
                  ศักยภาพของที่ดิน สามารถแบ่งเขตการใช้ที่ดินรายภาคได้ดังนี้ ภาคเหนือ เนื้อที่ 76,125 ไร่ ภาค
                  ตะวันออกเฉียงเหนือ เนื้อที่ 11,408 ไร่ ภาคกลางเนื้อที่ 312,682 ไร่ ภาคตะวันออกเนื้อที่ 180,352 ไร่

                  และภาคใต้ เนื้อที่ 12,519 ไร่ โดยมีเนื้อที่รวมทั้งสิ้นประมาณ 593,086 ไร่ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมาย
                  พื้นที่ตามยุทธศาสตร์สับปะรดปี 2560 - 2569

                        4.4.2 ข้อเสนอแนะ
                             สําหรับแนวทางการพัฒนาพื้นที่ในเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงานนั้นควรมี

                  การจัดการพื้นที่เพื่อให้เหมาะสมกับการผลิตสับปะรดโรงงานในแต่ละเขตการใช้ที่ดิน โดยคํานึงถึง
                  ข้อเสนอแนะและมาตรการต่างๆ ที่จะดําเนินการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อช่วยส่งเสริม
                  และสนับสนุนเกษตรกรในการเพิ่มผลผลิต และลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งพัฒนาเพื่อเพิ่มคุณภาพสับปะรด
                  โรงงานให้มีมากยิ่งขึ้น โดยมีข้อเสนอแนะดังนี้

                             ข้อเสนอแนะด้านการวิจัยและพัฒนาเพื่อนําไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต

                          1) ภาครัฐควรสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีตามกระบวนการ GAP รวมทั้งตรวจสอบ
                  และให้การรับรอง จัดหาปัจจัยพื้นฐานที่จําเป็น เช่น แหล่งระบบน้ํา การพัฒนาเส้นทางโลจิสติกส์
                  ตลอดจนการวิจัยและพัฒนาในด้านต่างๆ
                          2) ควรส่งเสริมวิจัยและพัฒนาพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง ทนทานต่อโรคและแมลง และ

                  คุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของตลาดโดยแยกเป็นพันธุ์เพื่อการบริโภคสด และเพื่อการแปรรูป
                             3) ควรส่งเสริมให้เกษตรกรและโรงงานร่วมมือกันในการวางแผนการผลิตและการรับซื้อให้
                  สอดคล้องกับความต้องการในลักษณะของการทําสัญญาข้อตกลง (Contract Farming) อย่างจริงจัง
                  และโรงงานต้องไม่รับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรที่ไม่มีสัญญาข้อตกลง

                             4) ควรส่งเสริมให้เกษตรกรรวมตัวกลุ่มอย่างเข้มแข็งในการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี
                  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณภาพผลผลิต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถใน
                  การแข่งขันของตัวเกษตรกรเอง

                          5) ควรส่งเสริมให้เกษตรกรมีการปรับปรุงบํารุงดิน โดยเน้นเกษตรอินทรีย์เป็นหลัก
                  รณรงค์ให้มีการใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ พด. 2 พืชปุ๋ยสด รวมทั้งรณรงค์การป้องกันการชะล้างพังทลาย
                  ของดินโดยการปลูกพืชคลุมดิน ปลูกพืชขวางความลาดเท ปลูกพืชสลับกับแนวหญ้าแฝกและเพิ่ม
                  มาตรการอื่นๆ ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ รวมทั้งสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกรอย่างครบ
                  วงจร


                             ข้อเสนอแนะด้านการสร้างแรงจูงใจในการใช้พื้นที่ตามเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจ
                  และด้านการตลาด
                          1) ภาครัฐควรรณรงค์ให้เกษตรกรในพื้นที่เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน
                  ประกันภัยสับปะรดโรงงาน เพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดภัยธรรมชาติ





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน                          กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138   139