Page 132 - pineapple
P. 132

4-32





                          6) มีมาตรการพัฒนาระบบการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว การรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อ

                  รวบรวมผลผลิต รวมไปถึงระบบการบริหารจัดการด้านการขนส่งสินค้า (Logistics) เพื่อเพิ่ม
                  ประสิทธิภาพด้านการขนส่งให้เกิดความรวดเร็วทันต่อความต้องการ

                        4.3.2 มาตรการด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
                             การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของแต่ละพื้นที่มีความจําเป็นอย่างยิ่งต่อการที่จะดําเนินงาน
                  เพื่อนําไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจ เช่น

                          1) พัฒนาเส้นทางคมนาคมที่สะดวกสบาย เพื่อง่ายต่อการขนส่งผลผลิตจากแปลงของ
                  เกษตรกรสู่แหล่งรับซื้อผลผลิต
                          2) สนับสนุนการพัฒนาแหล่งน้ํา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการน้ํา

                        4.3.3 มาตรการด้านการตลาดและการรวมกลุ่มเกษตรกร

                          1) มีมาตรการส่งเสริมเชื่อมโยงการค้าระหว่างสถาบันเกษตรกรกับอุตสาหกรรม และหา
                  ตลาดรองรับผลผลิตทางการเกษตรที่แน่นอนให้กับเกษตรกร
                             2) ประชาสัมพันธ์รณรงค์การบริโภคสับปะรดภายในประเทศ และจัดหาสถานที่ในการ
                  จําหน่ายสับปะรดผลสด รวมทั้งการจัดงานแสดงสินค้าอาหารในต่างประเทศ ซึ่งมีทั้งผัก ผลไม้สดและ

                  แปรรูป (สับปะรดกระป๋อง)
                             3) ส่งเสริมการค้าตลาดข้อตกลง (Contract Farming) เพื่อลดปัญหาด้านการตลาด และ
                  ราคา ระหว่างสหกรณ์การเกษตรเพื่อการแปรรูปและส่งออกกับผู้ค้า
                          4) มีมาตรการสนับสนุนการรวมกลุ่มเกษตรกร เพื่อสร้างความเข้มแข็ง เพิ่ม

                  ความสามารถในการแข่งขัน

                        4.3.5 มาตรการด้านการแปรรูป
                             1) ศึกษาวิจัยแนวทางการสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์สับปะรดการพัฒนา
                  อุตสาหกรรมอาหารของไทยให้เป็นครัวอาหารคุณภาพซึ่งมีอุตสาหกรรมสับปะรดรวมอยู่ด้วย รวมทั้งการ
                  เพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหาร

                             2) สํารวจข้อมูลการแปรรูปสับปะรด การสร้างมูลค่าเพิ่ม ดําเนินการด้านการตลาด
                  ผลิตภัณฑ์ทั้งในและต่างประเทศ การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตภัณฑ์
                             3) วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ภายใต้ยุทธศาสตร์ครัวไทยสู่ครัวโลก

                             4) จัดทําฐานข้อมูลการสร้างคุณค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์สับปะรด
                             5) จัดการทรัพยากรน้ําอย่างยั่งยืนด้วย Water footprint ในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อการ
                  ส่งออก
                             5) สนับสนุนการวิจัยการนําใบสับปะรดไปผลิตเป็นเส้นใยเพื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมสิ่งทอ

                        4.3.5 มาตรการด้านกฎหมาย

                             เนื่องจากข้อมูลเบื้องต้นที่ใช้ในกําหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงานพบว่า
                  การใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการปลูกสับปะรดอยู่ในเขตป่าไม้ตามกฎหมาย (206,605 ไร่) จึงควรมี
                  มาตรการเพื่อรองการจัดการในพื้นที่ดังกล่าว เช่น







                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน                          กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137