Page 131 - pineapple
P. 131

4-31





                  4.3  มาตรการด้านการดําเนินงาน

                        เพื่อให้การกําหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงานบรรลุเป้าหมาย จึงจําเป็นต้องมี

                  มาตรการรองรับด้านการบริหารจัดการ ทั้งการพัฒนาด้านการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและ
                  สิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ สําหรับการพัฒนาด้านการเกษตรเป็นการพัฒนาโดยการเพิ่มศักยภาพ
                  การผลิต เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ในแต่ละเขตตามความเหมาะสมของที่ดิน พร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางการ
                  บริหารจัดการทรัพยากรดินเพื่อนําไปสู่การปฏิบัติจริง ซึ่งหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบควรนําแนวทาง

                  ดังกล่าวไปดําเนินการแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการในแต่ละพื้นที่ เนื่องจากแต่ละพื้นที่มีปัญหาที่แตกต่างกัน
                  จึงควรเลือกพื้นที่นําร่องในการพัฒนา และแก้ไขแต่ละปัญหาให้สําเร็จ แล้วจึงขยายผลไปสู่พื้นที่ใกล้เคียง
                  ที่มีปัญหาในลักษณะเดียวกัน เพื่อให้การพัฒนาครอบคลุมพื้นที่เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรด
                  โรงงานได้เร็วยิ่งขึ้นจนสามารถนําไปใช้ร่วมกับการจัดทําแผนพัฒนาเพื่อเสริมนโยบายของรัฐด้านอื่นได้

                        ทั้งนี้ควรเร่งปรับปรุง หรือผลักดันการออกกฎหมาย เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ให้
                  เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผล ภายใต้กรอบการปรับปรุงกฎหมายที่เอื้อ
                  ต่อการปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ การแก้ไขปัญหาความยากจน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม
                  ทรัพยากรธรรมชาติ และการบริหารจัดการไปพร้อมๆ กัน

                        4.3.1 มาตรการด้านการผลิต

                             รัฐบาลควรให้ความสําคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จากการกําหนดเขตการใช้ที่ดินพืช
                  เศรษฐกิจสับปะรดโรงงานให้ประสบผลสําเร็จ เพื่อใช้เป็นกรอบและทิศทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                  ดําเนินการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในการที่จะผลิตสับปะรดโรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการตลาด
                  ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้อย่างยั่งยืน โดยควรมีการดําเนินการดังนี้

                             1) วิจัยและพัฒนาพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง ทนทานต่อโรคและแมลง และคุณภาพ
                  สอดคล้องกับความต้องการของตลาดโดยแยกเป็นพันธุ์เพื่อการบริโภคสด และเพื่อการแปรรูป
                             2) กําหนดพื้นที่ที่เหมาะสมทางเศรษฐกิจสําหรับการปลูกสับปะรด (Zoning) โดยคํานึงถึง

                  แหล่งรับซื้อโรงงานแปรรูปโดยแบ่งออกเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมสําหรับปลูกสับปะรดบริโภคสด และพื้นที่ที่
                  เหมาะสมสําหรับการปลูกสับปะรดโรงงาน เพื่อลดปัญหาในเรื่องการขนส่งและผลผลิตเกินความต้องการ
                             3) เกษตรกรและโรงงานต้องร่วมมือกันในการวางแผนการผลิตและการรับซื้อให้สอดคล้อง
                  กับความต้องการในลักษณะของการทําสัญญาข้อตกลง (Contract Farming) อย่างจริงจัง และโรงงาน
                  ต้องไม่รับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรที่ไม่มีสัญญาข้อตกลง

                             4) เกษตรกรต้องรวมตัวกันอย่างเข้มแข็งในการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อเพิ่ม
                  ประสิทธิภาพการผลิตลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มคุณภาพผลผลิต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการ
                  แข่งขันของตัวเกษตรกรเอง

                             5) ภาครัฐสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีตามขบวนการ GAP รวมทั้งตรวจสอบและให้
                  การรับรอง จัดหาปัจจัยพื้นฐานที่จําเป็น เช่น แหล่งระบบน้ํา การพัฒนาเส้นทางโลจิสติกส์ ตลอดจนการ
                  วิจัยและพัฒนาในด้านต่างๆ











                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน                          กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   126   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136