Page 133 - pineapple
P. 133

4-33





                          1) มาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้ โดยใช้มาตรการตามมติคณะรัฐมนตรี

                  เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 เรื่อง “มาตรการและแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าไม้” ในส่วนที่
                  เกี่ยวข้องกับพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ซึ่งมีมติยืนยันไม่ให้นําพื้นที่ดังกล่าวไปปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร ทั้งนี้ให้กรม
                  ป่าไม้ขึ้นทะเบียนผู้ครอบครองพื้นที่ในเขตดังกล่าวให้ชัดเจน ห้ามมิให้มีการขยายพื้นที่เพิ่มเติม และ

                  รับรองสิทธิ์ที่ดินตามกฎหมาย แต่ถ้าพื้นที่มีความเสี่ยงต่อการคุกคามระบบนิเวศต้องทําการช่วยเหลือให้
                  ราษฎรมีที่อยู่อาศัยและที่ทํากินแห่งใหม่ หรือย้ายออกไปอยู่ในบริเวณที่เหมาะสม โดยรัฐบาลจะ
                  สนับสนุนด้านสาธารณูปโภคและการฝึกอาชีพ และพื้นที่เดิมที่ย้ายราษฎรออกให้ดําเนินการฟื้นฟูด้วย
                  การปลูกป่าทดแทน
                             ส่วนกรณีที่ราษฎรอาศัยอยู่หลังวันประกาศเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ให้กรมป่าไม้

                  เคลื่อนย้ายราษฎรออกจากพื้นที่ป่าอนุรักษ์ไปอยู่ในพื้นที่รองรับที่จัดไว้ โดยมีการสนับสนุนด้าน
                  สาธารณูปโภค การพัฒนาคุณภาพชีวิต รวมทั้งการรับรองสิทธิ์ที่ดินตามกฎหมาย หากยังไม่สามารถ
                  เคลื่อนย้ายได้ทันทีให้ควบคุมมิให้มีการขยายพื้นที่เพิ่ม โดยต้องจัดระเบียบที่อยู่อาศัยและที่ทํากินให้

                  เพียงพอต่อการดํารงชีพ และพื้นที่เดิมที่ย้ายราษฎรออกให้ดําเนินการฟื้นฟูด้วยการปลูกป่าทดแทน ใน
                  กรณีที่ต้องจัดทําขอบเขตที่ทํากินให้กับราษฎรตามผลการตรวจสอบพิสูจน์สิทธิ์การครอบครองในพื้นที่
                  หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องต้องหามาตรการในการจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ําเป็นพิเศษสําหรับพื้นที่ที่มี
                  ความลาดชันสูงและเป็นดินตื้น

                          2) ใช้มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2550 เรื่องมาตรการด้านการป้องกันรักษา
                  และฟื้นฟูสภาพป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2551-2552
                          3) ใช้พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 หมวด 2 เรื่องการควบคุม และรักษาป่า
                  สงวนแห่งชาติ

                          4) ยึดการปฏิบัติตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 จัดทําบนพื้นฐาน
                  ของกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ซึ่งเป็นแผนหลักของการพัฒนาประเทศ และ
                  เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) รวมทั้งการปรับโครงสร้าง
                  ประเทศไทยไปสู่ประเทศไทย 4.0 ตลอดจนประเด็นการปฏิรูปประเทศ นอกจากนั้นได้ให้ความสําคัญกับ

                  การมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกันกําหนดวิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนา
                  ประเทศ รวมทั้งร่วมจัดทํารายละเอียดยุทธศาสตร์ของแผนฯ เพื่อมุ่งสู่ “ความมั่งคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”


                  4.4  สรุปและข้อเสนอแนะ
                        4.4.1 สรุป

                             จากการกําหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน ในพื้นที่เพื่อการเกษตรกรรม
                  นอกเขตป่าไม้ตามกฎหมายเนื้อที่ประมาณ 165 ล้านไร่ โดยดําเนินการเฉพาะในพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์
                  ที่ดินปัจจุบันเป็นการปลูกสับปะรด พบว่า
                          1) ในการกําหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน รวมเนื้อที่ 593,086 ไร่

                  โดยสามารถแบ่งเขตการใช้ที่ดินตามความเหมาะสมได้ดังนี้ เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรด
                  โรงงานที่มีความเหมาะสมสูงเพื่อการผลิตส่งเข้าโรงงานแปรรูป (Z-I) มีเนื้อที่ 466,550 ไร่ เขตการ
                  ใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงานที่มีความเหมาะสมน้อยเพื่อการผลิตส่งเข้าโรงงานแปรรูป (Z-II) มี






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจสับปะรดโรงงาน                          กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138