Page 139 - pineapple
P. 139

ผ-3


                 การใส่ปุ๋ย
                     2-3 เดือน ส่วนมากเน้นสูตรไนโตรเจนสูง เช่น 15-5-20, 21-0-0, 16-16-16

                     4-6 เดือน ส่วนมากเน้นสูตรโพแทสเซียมสูง เช่น 15-5-20 (ใส่บนใบล่างได้เลย)
               ปุ๋ยทางใบเสริมเดือนละ 1 ครั้งสูตรไนโตรเจนและโพแทสเซียมสูงหรือ 46-0-0 + 0-0-50 อัตรา 500 กรัมต่อน้ํา
               20 ลิตร ปกติฉีด 3 ครั้ง (1 เดือน, 5 วันก่อนบังคับออกดอก, ราว 20 วันหลังบังคับออกดอก
                     ใส่ปุ๋ยครั้งสุดท้าย หลังบังคับออกดอกประมาณ 3 เดือนบํารุงผล ต้องการโพแทสเซียมสูงๆเช่น 0-0-50

               อัตรา 10 กรัมต่อต้น
                 การบังคับออกดอก
                     เมื่อต้นมีขนาด 2.5 กิโลกรัม ใช้สารเอทธิฟอน อัตรา 100 ซีซี + 46-0-0 อัตรา 3 กิโลกรัม ผสมน้ํา 200 ลิตร
               ฉีดสูตรนี้ 2 ครั้งโดยห่างกัน 5-10 วัน หลังฉีด 40-45 วัน จะเริ่มเห็นสับปะรดเป็นจุดแดงอยู่ภายในยอด ต่อมา

               60-70 วันจะเห็นผลสีแดงโผล่ขึ้นจากยอดอาจมีดอกสีม่วงอยู่ด้วย ประมาณ 90 วันดอกจะแห้งเข้าสู่
               กระบวนการขยายขนาดผลที่ต้องให้ปุ๋ยเช่น 0-0-50 การปลูกด้วยหน่อบังคับให้ออกดอกได้ภายใน 8-12 เดือน
               และการปลูกด้วยจุกบังคับให้ออกดอกได้ภายใน 10-14 เดือน
                 โรงงานสับปะรดที่สําคัญ

                     โรงงานอาหารสยาม อ.หนองใหญ่ จ.ชลบุรี
                     บริษัติ SAICO อ.นิคมพัฒนา จ.ระยอง
                     กลุ่มสหกรณ์ผู้ปลูกสับปะรด ต.บ้านบึง อ.บ้านคา จ.ราชบุรี

                     บริษัติ สามร้อยยอด อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์
                     บริษัติ กุยบุรีผลไม้กระป๋อง (KFC) อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
                 การเก็บเกี่ยว
                     ควรเก็บ 3 ครั้ง
                     ครั้งที่ 1 ครั้งแรก เก็บได้ประมาณ 20-25 เปอร์เซ็นต์

                     ครั้งที่ 2 เก็บหลังจากครั้งแรกประมาณ 5 วัน เก็บได้ 40-60 เปอร์เซ็นต์
                     ครั้งที่ 3 หลังเก็บครั้งที่สอง 5-7 วัน เก็บที่เหลือทั้งหมด

               4. โรคและแมลงศัตรูของสับปะรด
                     สับปะรดเป็นพืชที่ไม่ค่อยจะมีศัตรูและโรครบกวนเหมือนพืชอื่นๆ เท่าที่พบก็มีแต่โรคโคนเน่า อัน

               เนื่องมาจากพื้นที่แฉะเกินไป บริเวณที่ปลูกไม่มีทางระบายน้ําออกได้ หรือในแหล่งที่ปลูกสับปะรดนานๆ ศัตรู
               อย่างอื่นก็มี นก หนู ในที่บางแห่งมีไส้เดือนฝอย (Nematode) เป็นศัตรูที่สําคัญจึงควรระวังไว้ด้วย
               โรคที่พบเสมอคือโรคไส้เน่า (Heart Rot) เกิดจากเชื้อราชนิดหนึ่ง โรคนี้พบมากในระยะที่ฝนตกชุก และในไร่ที่
               มีน้ําขังแฉะ อาการเริ่มเป็นใบจะเหลือง ปลายใบไหม้เป็นสีน้ําตาล เมื่อถอนใบกลางๆ ขึ้นมา ใบจะหลุดติดมือ

               ออกมาโดยง่าย โคนใบที่ดึงขึ้นมาจะเป็นรอยสีน้ําตาลไหม้ และมีรอยช้ํา เมื่อเป็นมากๆ ทําให้ลําต้นมีแผล โคน
               เน่า ต้นเหี่ยวตาย การป้องกันกําจัดโรคนี้ควรจะถอนต้นที่เป็นโรคเผาไฟทําลายเสีย ควรทําทางระบายน้ํา อย่า
               ให้มีน้ําขังแฉะในที่ๆ เคยเป็นโรคนี้มาแล้วแมลง แมลงศัตรูของสับปะรดที่สําคัญคือ เพลี้ยแป้ง ซึ่งทําให้เกิด
               อาการใบเหี่ยว แมลงชนิดนี้ส่วนมากจะพบเกาะอยู่ตามกาบทั้งบนและใต้ใบ จะเห็นคล้ายเป็นแป้งสีขาวๆ ติด

               อยู่ กินอาหารโดยดูดน้ําเลี้ยงจากใบสับปะรด และในขณะเดียวกันก็ถ่ายสารประกอบที่เป็นพิษชนิดหนึ่งเข้าไป
               ในใบ ทําให้ใบสับปะรดเป็นจุดสีเขียวๆ เหลืองๆ และมีสีน้ําตาลปนแดง ถ้าเป็นมากๆ ทําให้ปลายใบไหม้ ใบ
               เหี่ยวต้นแห้งตายไป บางทีอาจพบเพลี้ยชนิดนี้เกาะดูดกินอยู่ที่โคนต้นใต้ดินและที่รากทําให้ใบเหลืองหมดทั้งต้น
               ต้นไม่เจริญเติบโตและตายในที่สุดการป้องกันกําจัดแมลงชนิดนี้ ควรใช้ยามาลาไธออน ซึ่งเป็นยาฆ่าแมลงที่ใช้
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144