Page 173 - oil palm
P. 173

บทที่ 3

                                        การวิเคราะหเพื่อกําหนดเขตการใชที่ดิน




                  3.1  การประเมินคุณภาพที่ดินดานกายภาพ

                        การประเมินคุณภาพที่ดินหรือการประเมินความเหมาะสมของที่ดิน สอดคลองตามหลักการของ

                  FAO Framework ค.ศ. 1983 ซึ่งการประเมินคุณภาพที่ดินดานกายภาพ เปนการประเมินศักยภาพของที่ดินวา

                  ที่ดินนั้นๆเหมาะสมมากหรือนอยเพียงใดสําหรับการใชที่ดินประเภทตางๆ หรือการปลูกพืชตางๆ โดย

                  พิจารณาจากคุณลักษณะที่ดินที่ไดจําแนกไวในแตละหนวยที่ดิน (Land Unit, LU)สภาพแวดลอมที่มีผล
                  ตอการเจริญเติบโตของพืช และระดับการจัดการในการใชประโยชนที่ดินสําหรับแตละประเภทการใช

                  ประโยชนที่ดิน (Land Use Requirement, LUR) (บัณฑิต ตันศิริ และคํารณ ไทรฟก, 2542)

                        3.1.1 ระดับความตองการปจจัยสําหรับพืชเศรษฐกิจปาลมน้ํามัน
                             ปาลมน้ํามันเปนไมยืนตนที่มีความตองการธาตุอาหารหรือปริมาณน้ําฝนในการเจริญเติบโต

                  เชนเดียวกับไมยืนตนหรือพืชไรชนิดอื่นที่มีความตองการสภาพแวดลอมที่เหมาะสมและปจจัยเพื่อการ

                  เจริญเติบโตแตกตางกันไป นอกจากปาลมน้ํามันจะมีความตองการปจจัยทางดานพืชแลว การจัดการ

                  พื้นที่สําหรับการเพาะปลูกก็เปนปจจัยสําคัญเชนเดียวกัน ซึ่งปจจัยสําหรับการปลูกปาลมน้ํามันตางๆ
                  เหลานี้สามารถจําแนกได 3 ประเภทสอดคลองตามหลักการของ FAO คือ

                          1) ความตองการดานพืช (Crop Requirements)

                          2) ความตองการดานการจัดการ (Management Requirements)
                          3) ความตองการดานการอนุรักษ (Conservation Requirements)

                             ปจจัยสําหรับการปลูกปาลมน้ํามันดังกลาวขางตน ประกอบดวยคุณภาพที่ดินรวม

                  ทั้งหมดถึง 25 ชนิด แตเนื่องจากคุณภาพที่ดินทั้งหมดนั้นประกอบดวยคุณลักษณะที่ดินจํานวนมาก

                  จึงพิจารณาคัดเลือกคุณภาพที่ดินที่มีการศึกษารวมรวมขอมูลสําหรับประเทศไทยไว โดยมีการกําหนด
                  เงื่อนไขคุณภาพที่ดินที่จะนํามาพิจารณาสําหรับพืชเศรษฐกิจปาลมน้ํามัน ซึ่งคุณภาพที่ดินที่จะนํามา

                  พิจารณานั้นจะตองสอดคลองกับเงื่อนไข 3 ประการดังนี้

                          1)  ตองมีอิทธิพลผลตอตนปาลมน้ํามัน คือ คุณภาพที่ดินดังกลาวตองมีผลกระทบในการ
                  เจริญเติบโตของตนปาลมน้ํามัน เชน การออกดอกปาลมน้ํามัน เปนตน ซึ่งอาจจะมีผลกระทบนอย

                  หรือผลกระทบเปนที่สังเกตไดหรือผลกระทบทันทีทันใดก็ได
   168   169   170   171   172   173   174   175   176   177   178