Page 24 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ
P. 24

2-2






                        2.1.2  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                             มีพื้นที่รวมประมาณ 105,533,963  ไร่ ประกอบด้วย 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดบึงกาฬ

                  กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย

                  ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย อุดรธานี อุบลราชธานี หนองบัวลําภู และอํานาจเจริญ สภาพภูมิ
                  ประเทศ เกิดจากการยกตัวของแผ่นดินด้านตะวันตกและด้านใต้ การยกตัวของแผ่นดินด้านตะวันตกทําให้

                  เกิดเทือกเขาสูงทอดตัวตามแนวเหนือใต้ ประกอบด้วย เทือกเขาเพชรบูรณ์ซึ่งอยู่ทางตอนเหนือ ถัดลงมา

                  บริเวณตอนใต้มีเทือกเขาดงพญาเย็นเป็นเทือกเขาที่สําคัญ ส่วนการยกตัวของแผ่นดินด้านใต้ทําให้
                  เกิดเทือกเขาสูงทางด้านใต้ทอดตัวยาวจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก ประกอบด้วย เทือกเขาสันกําแพง

                  ทางด้านตะวันตกถัดมาเป็นเทือกเขาพนมดงรักใช้เป็นพรมแดนระหว่างประเทศไทยและราชอาณาจักร

                  กัมพูชา บริเวณตอนกลางของภาคมีลักษณะเป็นแอ่งกะทะ แบ่งเป็นแอ่งโคราชและแอ่งสกลนครโดยมี

                  ทิวเขาภูพาน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณจังหวัดสกลนคร กาฬสินธุ์ และมุกดาหาร กั้นแอ่งทั้ง 2 แอ่ง แอ่งโคราชเป็น
                  พื้นที่ราบทางตอนใต้ของภาคครอบคลุมพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาไปทางทิศตะวันออก มีแม่นํ้าชีและ

                  แม่นํ้ามูลเป็นแม่นํ้าสายสําคัญ ส่วนแอ่งสกลนครเป็นพื้นที่ราบทางตอนบนของภาคครอบคลุมพื้นที่

                  จังหวัดสกลนคร อุดรธานีเรื่อยไปจนถึงจังหวัดนครพนม มีแม่นํ้าสายสําคัญ ได้แก่ แม่นํ้าโขงไหลผ่าน
                  ประเทศไทยบริเวณอําเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ลัดเลาะไปตามแนวเขตแดนจนกระทั่งไหลวกเข้าไปใน

                  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว บริเวณอําเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี

                        2.1.3  ภาคกลาง
                             มีพื้นที่รวมประมาณ 43,450,440 ไร่ ประกอบด้วย จังหวัดในภาคกลาง 19 จังหวัด ได้แก่

                  จังหวัดกาญจนบุรี กรุงเทพมหานคร ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์

                  พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี
                  สุพรรณบุรี และอ่างทอง ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบดินตะกอนที่ลํานํ้าพัดมาทับถม

                  มีภูเขาโดด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปนกระจายอยู่ทั่วไป ระดับความลาดเทของพื้นที่ลาดเทจากทิศเหนือ

                  ลงมาทางทิศใต้ ทางทิศตะวันออกของภาคมีเทือกเขาดงพญาเย็นและเทือกเขาสันกําแพงใช้เป็น

                  แนวเขตระหว่างภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางของภาค บริเวณตะวันตกของภาคมี
                  เทือกเขาวางตัวต่อเนื่องจากภาคเหนือในแนวเหนือใต้ ประกอบด้วย เทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขา

                  ตะนาวศรีใช้เป็นแนวพรมแดนระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาบริเวณ

                  ตะวันตกมีทิวเขาที่ยาวต่อเนื่องจากทิวเขาภาคเหนือลงไปจนถึงทิวเขาในคาบสมุทรภาคใต้ เทือกเขาที่

                  สําคัญ ได้แก่ เทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรี บริเวณที่ราบตอนใต้เป็นดินดอนสามเหลี่ยม
                  ปากแม่นํ้าเจ้าพระยา ซึ่งเกิดการรวมตัวของแม่นํ้าปิง วัง ยม และแม่นํ้าน่านไหลมารวมกันเป็นแม่นํ้า

                  เจ้าพระยา





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ                              กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29