Page 21 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ
P. 21
1-3
2) การวิเคราะห์ ข้ อมูลด้ านเศรษฐกิจ
การวิเคราะห์ข้ อมูลเพื่อประเมินผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ ได้ นําวิธีการจากระบบ
ของ FAO Frame work (1983) มาประยุกต ใช้ ร วมกับหลักการทางสถิติทําการวิเคราะห์ข้อมูลผลผลิต
ส้มโอ ปี การผลิต 2559 เพื่อคํานวณต้นทุนผันแปร ต้นทุนคงที่ รายได้ (มูลค่ าผลผลิต) ผลตอบแทน
เหนือต้นทุนเงินสด ผลตอบแทนเหนือต้ นทุนผันแปร ผลตอบแทนเหนือต้ นทุนทั้งหมด มูลค่ าปั จจุบัน
ของต้ นทุน มูลค่าปั จจุบันของรายได้ และมูลค่าปั จจุบันของผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยต่ อปี ตลอดจน
ระยะเวลาคืนทุนของการผลิตส้มโอที่เกษตรกรทําการผลิตอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งผลตอบแทนจะสรุป
ออกมาในรูปของมูลค่าบาทต่ อไร่
3) วิเคราะห์ พื้นที่เป้าหมายในการผลิตให้ สอดคล้ องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของ
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
1.3.4 การกําหนดเขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจสมโอ
ในการกําหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ พิจารณาจากพื้นที่ปลูกส้มโอทั้งประเทศ
ซึ่งมีเนื้อที่ 128,288 ไร่ โดยวิเคราะห์ร่วมกับความเหมาะสมของพืชเศรษฐกิจส้มโอ ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
และนโยบายยุทธศาสตร์ การผลิตที่สําคัญ
1.3.5 จัดทํารายงานและแผนที่
จัดทํารายงานและแผนที่เขตการใช้ ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ ทั้งในรูปดิจิตอลและ
รูปเล่มรายงาน
1.4 ขอบเขตที่ดําเนินการ
1.4.1 ระยะเวลา 1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2560
1.4.2 ขอบเขตที่ศึกษา พื้นที่ปลูกส้มโอในพื้นที่เกษตรกรรม นอกเขตป่าตามกฎหมาย
เนื้อที่รวม 128,288 ไร่
1.4.3 พืชเศรษฐกิจ ส้มโอสําหรับอุตสาหกรรมการแปรรูปต่ างๆ และการบริโภค
ภายในประเทศและการส่งออก
1.5 ประโยชนที่ไดรับ
1.5.1 แผนที่พร้อมรายงานเขตเหมาะสมพืชเศรษฐกิจส้มโอที่แสดงศักยภาพในระดับต่างๆ
ในรูปข้อมูลเชิงพื้นที่
1.5.2 เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการกําหนดแผนงานและนโยบายพัฒนาพืชเศรษฐกิจ
1.5.3 เพื่อสนับสนุน/รองรับนโยบายด้านการผลิตพืชอาหารในอนาคต
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน