Page 25 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ
P. 25

2-3






                        2.1.4  ภาคตะวันออก

                             มีพื้นที่รวมประมาณ 21,487,812 ไร่  ประกอบด้วย จังหวัดในภาคตะวันออก 7 จังหวัด

                  ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ปราจีนบุรี ระยอง และสระแก้ว ลักษณะภูมิประเทศ

                  บริเวณตอนบนของภาคจะเป็นภูเขาและแนวเทือกเขาสูง มีเทือกเขาสันกําแพงและเทือกเขาพนมดงรัก
                  ทอดตัวในแนวตะวันตกไปทางทิศตะวันออกกั้นภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณ

                  ตะวันออกของภาคมีเทือกเขาบรรทัดกั้นพรมแดนประเทศไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชาวางตัวในแนว

                  เหนือใต้ ถัดลงมาเป็นเทือกเขาจันทบุรี เทือกเขาสูงมีความลาดเทจากทิศเหนือลงมาทิศใต้
                  ทางตอนใต้เป็นที่ราบชายฝั่งทะเลลักษณะของชายฝั่งเว้าแหว่ง ประกอบด้วย เกาะและหาดทราย

                  ที่สวยงามส่วนพื้นที่ราบมีแม่นํ้าบางปะกงเป็นแม่นํ้าสายสําคัญ

                        2.1.5  ภาคใต

                             มีพื้นที่รวมประมาณ 44,196,992  ไร่ ประกอบด้วย จังหวัดในภาคใต้ 14 จังหวัด ได้แก่
                  จังหวัดกระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา

                  สตูล และสุราษฎร์ธานี มีลักษณะภูมิประเทศเด่น 4  แบบ  คือ เทือกเขาสูง ที่ราบชายฝั่งอ่าวไทย

                  ที่ราบชายฝั่งอันดามัน และเกาะ โดยเทือกเขาสูงพบทิศตะวันตกของภาคทอดตัวในแนวเหนือใต้ ได้แก่
                  เทือกเขาตะนาวศรี ใช้เป็นพรมแดนกั้นประเทศไทยกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ถัดมาเป็น

                  เทือกเขาภูเก็ตทอดตัวต่อจากเทือกเขาตะนาวศรีจนถึงเกาะภูเก็ต บริเวณตอนกลางของภาคมีเทือกเขา

                  นครศรีธรรมราชทอดตัวในแนวเหนือใต้ ส่วนด้านใต้มีเทือกเขาสันกาลาคีรีใช้เป็นพรมแดนกั้น
                  ระหว่างประเทศไทยกับสหพันธรัฐมาเลเซีย บริเวณตะวันตกของภาคเป็นที่ราบชายฝั่งอันดามันเริ่ม

                  ตั้งแต่ชายฝั่งจังหวัดระนองไปจนถึงจังหวัดสตูล มีลักษณะชายฝั่งแบบยุบตัวจึงมีที่ราบแคบไปตามชายเขา

                  ส่วนบริเวณตะวันออกของภาคเป็นที่ราบชายฝั่งอ่าวไทยเริ่มตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงจังหวัดนราธิวาส

                  ลักษณะชายฝั่งเป็นแบบยกตัว มีลักษณะที่ราบที่กว้างกว่าที่ราบชายฝั่งอันดามัน นอกจากนี้พื้นที่ฝั่งทะเล
                  ทั้งสองด้านมีเกาะมากมาย


                  2.2 สภาพภูมิอากาศ

                        2.2.1  ลมมรสุม

                             ประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของมรสุมสองชนิด คือ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้และมรสุม
                  ตะวันออกเฉียงเหนือ โดยลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยระหว่างกลางเดือน

                  พฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม โดยมีแหล่งกําเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกใต้ บริเวณ

                  มหาสมุทรอินเดีย ซึ่งพัดออกจากศูนย์กลางเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้
                  เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตร  มรสุมนี้จะนํามวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศไทย  ทําให้







                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ                              กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30