Page 26 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ
P. 26

2-4






                  มีเมฆมากและฝนตกชุกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเลและเทือกเขาด้านรับลม

                  จะมีฝนมากกว่าบริเวณอื่น ส่วนลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดมาปกคลุมประเทศไทยจนถึง

                  กลางเดือนกุมภาพันธ์     มรสุมนี้มีแหล่งกําเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกเหนือ
                  แถบประเทศมองโกเลียและสาธารณรัฐประชาชนจีน  จึงพัดพาเอามวลอากาศเย็นและแห้งจาก

                  แหล่งกําเนิดเข้ามากคลุมประเทศไทย  ทําให้ท้องฟ้าโปร่ง อากาศหนาวเย็นและแห้งแล้งทั่วไป

                  โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ส่วนภาคใต้จะมีฝนชุกโดยเฉพาะ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก

                  เนื่องจากมรสุมนี้ นําความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม
                        2.2.2  ฤดูกาล

                             จากสภาพทางภูมิศาสตร์ของไทย ประเทศไทยถูกจัดอยู่ในประเทศเขตร้อนอันมีที่ตั้งอยู่

                  เหนือเส้นศูนย์สูตรขึ้นมาเพียงเล็กน้อย สภาพภูมิอากาศโดยทั่วๆ ไป จึงเป็นแบบร้อนชื้น อากาศหนาว

                  พัดผ่านเข้าในระยะเวลาช่วงสั้นๆ เท่านั้น ฤดูกาลสําหรับประเทศไทยแบ่งออกได้เป็น 3 ฤดูกาล
                  ประกอบด้วย

                             1)  ฤดูฝน จะมีปริมาณฝนตกชุก เนื่องจากอิทธิพลของลมเมื่อลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

                  พัดปกคลุมประเทศ เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมไปจนถึงกลางเดือนตุลาคม
                             2)  ฤดูหนาว เริ่มเมื่อลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้าสู่ประเทศไทย โดยมีช่วง

                  ระยะเวลาตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ระยะนี้ภูมิอากาศของประเทศไทย

                  จะหนาวเย็น ยกเว้น ภาคใต้ที่ยังคงถือว่าเป็นฤดูฝนเพราะยังคงมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง

                             3)  ฤดูรอน จะมีช่วงระยะเวลาตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม
                  ช่วงระยะเวลานี้เป็นช่วงเวลาที่โลกเคลื่อนที่เข้าใกล้ดวงอาทิตย์โดยดูเหมือนกับดวงอาทิตย์เคลื่อนผ่าน

                  เส้นศูนย์สูตรขึ้นมาทางซีกโลกเหนือ ทําให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนอบอ้าว และจะร้อนที่สุดในช่วง

                  เดือนเมษายน
                        2.2.3  ปริมาณน้ําฝน

                             จากข้อมูลสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมวิทยาของปี พ.ศ. 2549 – 2558 นํามาพิจารณา

                  เป็นตัวแทนลักษณะภูมิอากาศ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และ

                  ภาคใต้ ปริมาณนํ้าฝนในแต่ละพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะภูมิประเทศนอกเหนือจากการผันแปร
                  ตามฤดูกาล จากข้อมูลสถิติสภาพภูมิอากาศดังแสดงในตารางที่ 2-1  2-2  2-3  2-4  และ 2-5

                             ปริมาณนํ้าฝนรวมเฉลี่ยตลอดปีแต่ละภาคมีค่าดังนี้ ภาคเหนือ จังหวัดเชียงรายและ

                  จังหวัดกําแพงเพชร เป็นตัวแทนลักษณะภูมิอากาศซึ่งพบพื้นที่ปลูกส้มโอส่วนใหญ่ของภาค จังหวัด
                  เชียงราย 1,628.6 มิลลิเมตร และจังหวัดกําแพงเพชร 1,383.0 มิลลิเมตร ภาคกลาง จังหวัดนครปฐม

                  1,016.0  มิลลิเมตร ภาคตะวันออก จังหวัดปราจีนบุรี 1,876.4 มิลลิเมตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ                              กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31