Page 27 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ
P. 27
2-5
จังหวัดชัยภูมิ 1,244.8 มิลลิเมตร และภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช 2,717.3 มิลลิเมตร และจังหวัดชุมพร
1,913.9 มิลลิเมตร ปริมาณฝนในแต่ละพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะภูมิประเทศนอกเหนือจาก
การผันแปรตามฤดูกาล บริเวณประเทศไทยตอนบนปกติจะแห้งแล้งและมีฝนน้อยในฤดูหนาว เมื่อ
เข้าสู่ฤดูร้อนปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้นบ้างพร้อมทั้งมีพายุฟ้าคะนอง และเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนปริมาณฝนจะ
เพิ่มขึ้นมากโดยจะมีปริมาณฝนมากที่สุดในเดือนสิงหาคมหรือเดือนกันยายน พื้นที่ที่มีปริมาณฝนมาก
ส่วนใหญ่จะอยู่ด้านหน้าทิวเขาหรือด้านรับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนพื้นที่ที่มีฝนน้อยส่วนใหญ่อยู่
ด้านหลังเขา สําหรับภาคใต้มีฝนตกชุกเกือบตลอดปี
2.2.4 ความชื้นสัมพัทธ
ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศเป็นอัตราส่วนของจํานวนไอนํ้าที่มีอยู่ในอากาศต่อจํานวนไอนํ้า
ที่อาจมีได้จนอิ่มตัวเต็มที่ในอากาศเดียวกันนั้น ความชื้นสัมพัทธ์จึงกําหนดเป็นเรือนร้อย โดยให้
จํานวนความชื้นที่อิ่มตัวเต็มที่เป็น 100 ส่วน ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตรจึงมีอากาศร้อนชื้น
ปกคลุมเกือบตลอดปี ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปีแต่ละภาคมีค่าดังนี้ ภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย
80 เปอร์เซ็นต์ และจังหวัดกําแพงเพชร 77 เปอร์เซ็นต์ ภาคกลาง จังหวัดนครปฐม 78 เปอร์เซ็นต์
ภาคตะวันออก จังหวัดปราจีนบุรี 74 เปอร์เซ็นต์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดชัยภูมิ 69 เปอร์เซ็นต์
และภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช 82 เปอร์เซ็นต์ และจังหวัดชุมพร 81 เปอร์เซ็นต์
2.2.5 อุณหภูมิ
ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน สภาวะอากาศโดยทั่วไปจึงร้อนอบอ้าวเกือบตลอดปี
อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีของประเทศไทยมีค่าประมาณ 27 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามอุณหภูมิจะมี
ความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่และฤดูกาล พื้นที่ที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินบริเวณตั้งแต่ภาคกลาง
และภาคตะวันออกตอนบนขึ้นไปจนถึงภาคเหนือจะมีอุณหภูมิแตกต่างกันมากระหว่างฤดูร้อนกับฤดูหนาว
และระหว่างกลางวันกับกลางคืน สําหรับพื้นที่ซึ่งอยู่ติดทะเล ได้แก่ ภาคตะวันออกตอนล่าง และภาคใต้
ความผันแปรของอุณหภูมิในช่วงวันและฤดูกาลจะน้อยกว่า โดยฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนจัด และฤดูหนาว
อากาศไม่หนาวจัดเท่าพื้นที่ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน