Page 19 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ
P. 19
บทที่ 1
บทนํา
1.1 หลักการและเหตุผล
ส้มโอเป็นไม้ผลเศรษฐกิจที่สําคัญของประเทศไทยชนิดหนึ่ง ที่กําลังได้รับความนิยมจาก
ผู้บริโภคเนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูงเป็นที่ต้องการของตลาด รสชาติเป็นที่ชื่นชอบของ
ชาวต่างประเทศ และยังเก็บรักษาได้นาน ส้มโอจึงเป็นไม้ผลที่สามารถเพิ่มศักยภาพการผลิตเพื่อ
การส่งออกทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศได้ดี ประกอบกับภาครัฐให้การส่งเสริมการส่งออก
ภายใต้การจัดการคุณภาพการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสําหรับพืชตามมาตรฐาน GAP (Good
Agricultural Productive) ถึงแม้ว่าแนวโน้มความต้องการของตลาดทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ
จะมีความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่จากสถานการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ ในปี พ.ศ. 2554 ส่งผลให้
พื้นที่เพาะปลูกส้มโอในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลางได้รับความเสียหาย ประกอบกับเกษตรกรมีการ
รื้อแปลงปลูกในกรณีที่ส้มโอมีอายุมาก ส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกส้มโอ และพื้นที่ให้ผลผลิตมีแนวโน้มลดลง
จากข้อมูลกรมส่งเสริมการเกษตร (2559) พบว่า พื้นที่ให้ผลผลิตส้มโอลดลงจาก 77,998 ไร่ ในปี
พ.ศ. 2553 เหลือเพียง 65,343 ไร่ 55,870 ไร่ 54,748 ไร่ 52,059 ไร่ และ 45,640 ไร่ ในปี พ.ศ.2554
2555 2556 2557 และ 2558 ตามลําดับ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในปี พ.ศ. 2559 โดยมีพื้นที่
ให้ผลผลิต 49,403 ไร่ ดังนั้น การวางแผนการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ เพื่อพัฒนาพื้นที่ให้
เหมาะสมตามศักยภาพของทรัพยากรที่ดินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตส้มโอ เพื่อบริโภค
ภายในประเทศ และเพื่อการส่งออกจึงเป็นสิ่งที่ควรดําเนินการอย่างเร่งด่วน
ปัจจุบันภาครัฐได้ให้ความสําคัญกับการพัฒนาผลไม้ไทย และส่งเสริมการเพาะปลูกส้มโอ
ทดแทนในพื้นที่ราบลุ่มภาคกลาง โดยส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพผลผลิตส้มโอ ให้มีมาตรฐานเป็นที่
ยอมรับของต่างประเทศ ดังนั้น ควรมีการจัดทําเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอขึ้นเพื่อกําหนดพื้นที่
เหมาะสมในการเพิ่มผลผลิต โดยคํานึงการจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจํากัดให้เหมาะสม
และเป็นธรรม ตามศักยภาพของทรัพยากรดินเพื่อให้สามารถบริหารจัดการทรัพยากรการผลิตได้อย่างยั่งยืน
โดยเน้นความสมดุลทางธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ และการบริหารจัดการพื้นที่เพาะปลูก
ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ในการจัดทํารายงานเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ ได้จัดทําเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ
ที่เหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง และเหมาะสมเล็กน้อย ซึ่งเขตดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกส้มโอ
จริงในปัจจุบัน พร้อมกันนี้ยังได้กําหนดเขตการใช้ที่ดินที่เหมาะสมมาก (เขตเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูก)
โดยพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงในการขยายพื้นที่เพาะปลูกส้มโอในอนาคต หากเกษตรกร
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจส้มโอ กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน