Page 16 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 16

2-2






                        2.1.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                             ประกอบด้วย 20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา

                  บึงกาฬ บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร  ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย

                  หนองบัวลําภู อํานาจเจริญ  อุดรธานี และอุบลราชธานี  มีเนื้อที่ประมาณ 105,533,963 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                  32.91 ของเนื้อที่ประเทศ

                             ภูมิประเทศของภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งภาคยกตัวสูงเป็นขอบแยกตัวออกจาก

                  ภาคอื่นอย่างชัดเจน มีเทือกเขาใหญ่กั้นอยู่โดยรอบทางด้านทิศตะวันตกและทางทิศใต้ มีภูเขาขนาดเล็ก
                  อยู่ประปรายภายในของภาค ทางทิศตะวันตกของภาคมีเทือกเขาใหญ่ 2 เทือก ทอดยาวติดต่อจากเหนือ

                  ลงมาทางใต้ คือ เทือกเขาเพชรบูรณ์อยู่ทางตอนเหนือและเทือกเขาดงพญาเย็นอยู่ทางตอนใต้ เทือกเขา

                  ทั้งสองนี้กั้นพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีความสูงเฉลี่ย

                  500-1,000 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง มียอดเขาที่สูงที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ ยอดภูหลวง
                  มีความสูง 1,571  เมตร จากระดับทะเลปานกลาง ทางทิศใต้ของภาคมีเทือกเขาใหญ่อีก 2  เทือก ทอดยาว

                  จากทางทิศตะวันตกต่อไปตลอดเขตแดนประเทศกัมพูชาและลาว คือ เทือกเขาสันกําแพงและเทือกเขา

                  พนมดงรัก พื้นที่โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นที่ราบมีชื่อเรียกว่า ที่ราบสูงโคราช โดยมีขอบสูงในบริเวณ
                  เทือกเขาทางทิศตะวันตกและทิศใต้ และค่อยลาดเอียงไปทางทิศตะวันออกสู่แม่นํ้าโขง บริเวณตอนใน

                  ค่อนไปทางตะวันออกเฉียงเหนือยังมีเทือกเขาเตี้ยๆ เรียกว่า เทือกเขาภูพาน และมีภูเขากระจัดกระจาย

                  ไม่เป็นเทือกเขา ทําให้ลักษณะพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะเป็นแอ่งที่ราบใหญ่ 2  ตอน

                  คือ แอ่งสกลนครและแอ่งโคราช
                        2.1.3 ภาคกลาง

                             ประกอบด้วย 18 จังหวัด และ 1 เขตการปกครองพิเศษ ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี ชัยนาท

                  นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี  ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี
                  สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง ส่วนกรุงเทพมหานคร

                  ไม่นับว่าเป็นจังหวัด เนื่องจากเป็นเขตการปกครองพิเศษ มีเนื้อที่ประมาณ 43,450,440 ไร่ คิดเป็นร้อยละ

                  13.55 ของเนื้อที่ประเทศ

                             ภูมิประเทศมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มที่เกิดจากการที่แม่นํ้าพัดพาเอาเศษหิน เศษดิน กรวด ทราย
                  และตะกอนมาทับถมพอกพูนมาเป็นเวลานาน ระดับพื้นที่มีลักษณะลาดลงมาทางใต้ พื้นที่ราบส่วนใหญ่

                  มีความสูงโดยประมาณน้อยกว่า 80 เมตรจากระดับทะเลปานกลาง  มีภูเขาเตี้ยๆ เกิดขึ้นแต่ไม่มากนัก

                  โดยทางทิศตะวันตกมีเทือกเขาตะนาวศรีทอดเป็นแนวกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับพม่า
                  มีความสูงจากระดับทะเลปานกลางเกินกว่า 1,650 เมตร ทางด้านตะวันออกมีเทือกเขาดงพญาเย็นและ

                  เทือกเขาสันกําแพงเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21