Page 19 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 19

2-5






                             2)  ฤดูฝน เริ่มต้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคม เมื่อลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุม

                  ประเทศไทยและร่องความกดอากาศตํ่าพาดผ่านประเทศไทยทําให้มีฝนตกชุกทั่วไป ร่องความกดอากาศตํ่านี้

                  ปกติจะพาดผ่านภาคใต้ในระยะต้นเดือนพฤษภาคม แล้วจึงเลื่อนขึ้นไปทางเหนือตามลําดับ จนถึงช่วง

                  ประมาณปลายเดือนมิถุนายนจะพาดผ่านอยู่บริเวณประเทศจีนตอนใต้ ทําให้ฝนในประเทศไทยลดลง
                  ระยะหนึ่งซึ่งเรียกว่า ฝนทิ้งช่วง อาจนานประมาณ 1-2  สัปดาห์ หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อย

                  นานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคมปกติร่องความกดอากาศตํ่าจะเลื่อนกลับลงมาจากทางตอนใต้ของ

                  ประเทศจีนพาดผ่านบริเวณประเทศไทยอีกครั้ง ทําให้มีฝนตกชุกต่อเนื่องและปริมาณฝนเพิ่มขึ้นตั้งแต่
                  ช่วงปลายเดือนกรกฎาคมเป็นต้นไป  จนกระทั่งลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดเข้ามาปกคลุม

                  ประเทศไทยแทนที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ประมาณกลางเดือนตุลาคม ประเทศไทยตอนบนจะเริ่ม

                  มีอากาศเย็นและฝนลดลง  โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  เว้นแต่ภาคใต้ยังคงมี

                  ฝนตกชุกต่อไปจนถึงเดือนธันวาคม  และมีฝนตกหนักถึงหนักมากจนก่อให้เกิดอุทกภัย โดยเฉพาะ
                  ภาคใต้ฝั่งตะวันออก  ซึ่งจะมีปริมาณฝนมากกว่าภาคใต้ฝั่งตะวันตก  อย่างไรก็ตาม การเริ่มต้นฤดูฝน

                  อาจจะช้าหรือเร็วกว่ากําหนดได้ประมาณ 1-2 สัปดาห์

                             3)  ฤดูหนาว  เริ่มต้นประมาณกลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อลมมรสุม
                  ตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนาน

                  1-2 สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็น

                  หรือมีฝนฟ้าคะนอง โดยเฉพาะบริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออก ซึ่งจะหมดฝนและเริ่มมี
                  อากาศเย็นช้ากว่าภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


                        2.2.3  ปริมาณนํ้าฝน

                             ปริมาณนํ้าฝนรวมเฉลี่ยตลอดปีแต่ละภาคมีค่า ดังนี้ ภาคเหนือมีค่า 1,261.4 มิลลิเมตร
                  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีค่า 1,395.8 มิลลิเมตร  ภาคกลางมีค่า 1,199.8 มิลลิเมตร  ภาคตะวันออกมีค่า

                  1,795.0 มิลลิเมตร และภาคใต้มีค่า 2,368.6 มิลลิเมตร ปริมาณฝนในแต่ละพื้นที่เปลี่ยนแปลงไป

                  ตามลักษณะภูมิประเทศนอกเหนือจากการผันแปรตามฤดูกาล บริเวณประเทศไทยตอนบนปกติจะแห้งแล้ง

                  และมีปริมาณฝนน้อยในฤดูหนาว เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้นบ้างพร้อมทั้งมีพายุฟ้าคะนอง
                  และเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้นมากโดยจะมีปริมาณฝนมากที่สุดในเดือนสิงหาคมหรือเดือนกันยายน

                  พื้นที่ที่มีปริมาณฝนมากส่วนใหญ่อยู่ด้านหน้าทิวเขาหรือด้านรับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่

                  พื้นที่ทางด้านตะวันตกของประเทศบริเวณอําเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี และภาคตะวันออก
                  บริเวณจังหวัดจันทบุรีและตราด โดยเฉพาะที่อําเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด มีปริมาณฝนรวมเฉลี่ยตลอดปี

                  มากกว่า 4,700 มิลลิเมตร ส่วนพื้นที่ที่มีปริมาณฝนน้อยส่วนใหญ่อยู่ด้านหลังเขา ได้แก่ พื้นที่ตอนกลาง

                  ของภาคเหนือบริเวณจังหวัดลําพูน ลําปาง และแพร่ พื้นที่ด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24