Page 22 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 22

2-8






                           หน่วยที่ดิน 1f คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 1 มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบ

                  และเป็นพื้นที่ที่เสี่ยงจากการเกิดนํ้าท่วมขังในฤดูฝน

                           หน่วยที่ดิน 1sa คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 1 มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบ
                  และมีคราบเกลือ


                        กลุ่มชุดดินที่ 2

                        เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวกตะกอนผสมของตะกอนลํานํ้าและตะกอนนํ้าทะเล

                  แล้วพัฒนาในสภาพนํ้ากร่อย พบบริเวณที่ราบชายฝั่งทะเลหรือที่ราบลุ่มภาคกลาง มีการระบายนํ้าเลว
                  มีเนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวหรือดินเหนียวจัด หน้าดินอาจแตกระแหงเป็นร่องลึกในฤดูแล้งและมีรอยไถล

                  ในดิน สีดินเป็นสีเทาหรือสีเทาแก่ตลอด มีจุดประสีนํ้าตาล สีเหลืองหรือสีแดงปะปนตลอดชั้นดิน

                  อาจพบผลึกยิปซัมบ้างเล็กน้อย และพบชั้นดินเหนียวสีเทาที่มีจุดประสีเหลืองของสารจาโรไซต์
                  ในระดับความลึกประมาณ 100-150  เซนติเมตร  ทับอยู่บนชั้นดินเลนตะกอนนํ้าทะเลที่มีสีเทาปนเขียว

                  ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมาก มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 4.5-5.0 ดินมีความอุดมสมบูรณ์

                  ตามธรรมชาติปานกลาง
                        ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ดินเป็นกรดจัดมากและมีศักยภาพก่อให้เกิด

                  ความเป็นกรดของดินเพิ่มขึ้นในดินล่าง ซึ่งมีผลกระทบต่อผลผลิต แต่ถ้ามีการจัดการที่ดินอย่างดีแล้ว

                  จะให้ผลผลิตค่อนข้างสูง
                        กลุ่มชุดดินนี้มีหน่วยที่ดินที่สําคัญ ดังนี้

                           หน่วยที่ดิน 2 คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 2 มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบ

                           หน่วยที่ดิน 2f คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 2 มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบ

                  และเป็นพื้นที่ที่เสี่ยงจากการเกิดนํ้าท่วมขังในฤดูฝน

                        กลุ่มชุดดินที่ 3

                        เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวกตะกอนผสมของตะกอนลํานํ้าและตะกอนนํ้าทะเล

                  แล้วพัฒนาในสภาพนํ้ากร่อย พบในบริเวณที่ราบลุ่มหรือที่ราบเรียบ บริเวณชายฝั่งทะเลหรือห่างจาก
                  ทะเลไม่มากนัก มีนํ้าแช่ขังในช่วงฤดูฝน เป็นดินลึก มีการระบายนํ้าเลวถึงค่อนข้างเลว มีเนื้อดินเป็น

                  พวกดินเหนียวหรือดินเหนียวจัด หน้าดินอาจแตกระแหงเป็นร่องลึกในฤดูแล้งและมีรอยไถลในดิน

                  ดินบนมีสีดํา ส่วนดินล่างมีสีเทาหรือสีนํ้าตาลอ่อน มีจุดประสีเหลืองและสีนํ้าตาลตลอดชั้นดิน
                  บางบริเวณอาจพบจุดประสีแดงปะปนหรืออาจพบผลึกยิปซัมบ้าง ที่ความลึกประมาณ 100-150  เซนติเมตร

                  จะพบชั้นตะกอนทะเลสีเขียวมะกอกและพบเปลือกหอยปน ปฏิกิริยาดินเป็นกรดเล็กน้อยถึงด่างปานกลาง

                  มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 6.5-8.0 ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติปานกลางถึงสูง







                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27