Page 25 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 25
2-11
หน่วยที่ดิน 6nb คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 6 มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบ
และไม่มีคันนา
หน่วยที่ดิน 6sa คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 6 มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบ
และมีคราบเกลือ
หน่วยที่ดิน 6sp คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 6 มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบ
และมีการระบายนํ้าค่อนข้างเลว
หน่วยที่ดิน 6B คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 6 มีสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่น
ลอนลาดเล็กน้อย
กลุ่มชุดดินที่ 7
เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวกตะกอนลํานํ้า พบในบริเวณที่ราบตะกอนนํ้าพา
มีนํ้าแช่ขังในช่วงฤดูฝน เป็นดินลึก มีการระบายนํ้าเลวหรือค่อนข้างเลว เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว
มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนเหนียวหรือดินเหนียวสีเทาแก่ ดินล่างเป็นดินเหนียว สีนํ้าตาลอ่อน สีเทาหรือ
สีนํ้าตาลปนเทา พบจุดประสีนํ้าตาล สีเหลืองหรือสีแดงปะปนตลอดชั้นดิน ดินมีความอุดมสมบูรณ์
ตามธรรมชาติปานกลาง ปฏิกิริยาดินเป็นกรดปานกลางถึงเป็นกลาง มีค่าความเป็นกรดเป็นด่าง
ประมาณ 6.0-7.0
ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ โครงสร้างของดินแน่นทึบ ดินแห้งแข็ง ทําให้ยาก
ต่อการไถพรวน ขาดแคลนนํ้าแต่จะมีนํ้าท่วมขังในฤดูฝน
กลุ่มชุดดินนี้มีหน่วยที่ดินที่สําคัญ ดังนี้
หน่วยที่ดิน 7 คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 7 มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบ
หน่วยที่ดิน 7d3 คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 7 มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบ
และมีความลึก 50-100 เซนติเมตรจากผิวดิน
หน่วยที่ดิน 7f คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 7 มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบ
และเป็นพื้นที่ที่เสี่ยงจากการเกิดนํ้าท่วมขังในฤดูฝน
หน่วยที่ดิน 7hi คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 7 มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบ
และพบบนพื้นที่สูง
หน่วยที่ดิน 7nb คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 7 มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบ
และไม่มีคันนา
หน่วยที่ดิน 7sa คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 7 มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบ
และมีคราบเกลือ
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน