Page 27 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 27

2-13






                  มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 4.5  หรือน้อยกว่า ส่วนดินล่างที่เป็นดินเลน มีปฏิกิริยาดิน

                  เป็นกลางถึงด่างจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างประมาณ 7.0-8.5

                        ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ดินเป็นกรดรุนแรงมากและเป็นดินเค็ม ในฤดูแล้ง
                  มีคราบเกลือลอยหน้า ปลูกพืชไม่ขึ้นจึงจัดเป็นดินมีปัญหา

                        กลุ่มชุดดินนี้มีหน่วยที่ดินที่สําคัญ ดังนี้

                           หน่วยที่ดิน 9 คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 9 มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบ


                        กลุ่มชุดดินที่ 10
                        เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวกตะกอนผสมของตะกอนลํานํ้าและตะกอนนํ้าทะเล

                  แล้วพัฒนาในสภาพนํ้ากร่อย พบในบริเวณที่ราบลุ่มที่ห่างจากทะเลไม่มากนัก มีนํ้าแช่ขังในช่วงฤดูฝน

                  เป็นดินลึก มีการระบายนํ้าเลวหรือค่อนข้างเลว หน้าดินอาจแตกระแหงเป็นร่องลึกในช่วงฤดูแล้ง
                  เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว ดินบนมีสีดําหรือสีเทาแก่ ดินล่างมีสีเทา มีจุดประสีนํ้าตาลปนเหลืองหรือ

                  สีแดงปะปนตลอดชั้นดิน และพบจุดประสีเหลืองฟางข้าวของสารจาโรไซต์ภายในระดับความลึก

                  0-50 เซนติเมตร ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติตํ่า และเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดรุนแรงมาก
                  มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างน้อยกว่า 4.5

                        ปัญหาสําคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ ดินเป็นกรดจัดมากถึงเป็นกรดรุนแรงมาก มักขาด

                  แร่ธาตุอาหารพืชพวกไนโตรเจนและฟอสฟอรัส ในขณะเดียวกันจะมีสารละลายพวกอลูมิเนียมและเหล็ก
                  เป็นปริมาณมากจนเป็นพิษต่อพืชที่ปลูก ดินกลุ่มนี้จัดเป็นดินเปรี้ยวจัดหรือดินกรดกํามะถัน

                        กลุ่มชุดดินนี้มีหน่วยที่ดินที่สําคัญ ดังนี้

                           หน่วยที่ดิน 10 คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 10 มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบ

                           หน่วยที่ดิน 10f คือ หน่วยที่ดินที่มีลักษณะดังกลุ่มชุดดินที่ 10 มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเรียบ
                  และเป็นพื้นที่ที่เสี่ยงจากการเกิดนํ้าท่วมขังในฤดูฝน


                        กลุ่มชุดดินที่ 11

                        เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นกําเนิดดินพวกตะกอนผสมของตะกอนลํานํ้าและตะกอนนํ้าทะเล
                  แล้วพัฒนาในสภาพนํ้ากร่อย พบในบริเวณที่ราบลุ่มที่ห่างจากทะเลไม่มากนักโดยเฉพาะที่ราบลุ่มภาคกลาง

                  มีนํ้าแช่ขังในช่วงฤดูฝน เป็นดินลึก มีการระบายนํ้าเลวหรือค่อนข้างเลว เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว

                  หรือดินเหนียวจัด หน้าดินอาจแตกระแหงเป็นร่องลึกในฤดูแล้งและมีรอยไถลในดิน ดินบนมีสีดําหรือ
                  สีเทาแก่ ดินล่างมีสีเทา และมีจุดประสีนํ้าตาล สีเหลืองหรือสีแดงปะปนอยู่เป็นจํานวนมากในช่วง

                  ดินล่างตอนบน และพบจุดประสีเหลืองฟางข้าวของสารจาโรไซต์ภายในระดับความลึก 50-100  เซนติเมตร










                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32