Page 18 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 18

2-4







                  2.2  สภาพภูมิอากาศ

                        2.2.1 ลมมรสุม

                             ประเทศไทยอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม 2  ชนิด คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้

                  และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ
                             1)  ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้  ลมมรสุมนี้พัดปกคลุมประเทศไทย  ระหว่างกลางเดือน

                  พฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม  โดยมีแหล่งกําเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงในซีกโลกใต้บริเวณ

                  มหาสมุทรอินเดีย ซึ่งพัดออกจากศูนย์กลางเป็นลมตะวันออกเฉียงใต้และเปลี่ยนเป็นลมตะวันตกเฉียงใต้

                  เมื่อพัดข้ามเส้นศูนย์สูตร  มรสุมนี้นํามวลอากาศชื้นจากมหาสมุทรอินเดียมาสู่ประเทศไทยทําให้มีเมฆมาก
                  และฝนตกชุกทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามบริเวณชายฝั่งทะเลและเทือกเขาด้านรับลมจะมีฝนตก

                  มากกว่าบริเวณอื่น

                             2)  ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ หลังจากหมดอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้แล้ว

                  ประมาณกลางเดือนตุลาคมมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมประเทศไทยจนถึงกลางเดือน
                  กุมภาพันธ์  ลมมรสุมนี้มีแหล่งกําเนิดจากบริเวณความกดอากาศสูงบนซีกโลกเหนือแถบประเทศ

                  มองโกเลียและสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) จึงพัดพาเอามวลอากาศเย็นและแห้งแล้งมาจาก

                  แหล่งกําเนิดเข้ามาปกคลุมประเทศไทยทําให้ท้องฟ้ าโปร่ง  อากาศหนาวเย็น และแห้งแล้งทั่วไป
                  โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  ส่วนภาคใต้จะมีฝนตกชุกโดยเฉพาะภาคใต้

                  ฝั่งตะวันออก เนื่องจากลมมรสุมนี้นําเอาความชุ่มชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุม การเริ่มต้นและสิ้นสุด

                  ของลมมรสุมทั้งสองชนิดดังกล่าวอาจผันแปรไปจากปกติได้ในแต่ละปี

                        2.2.2 ฤดูกาล

                             แบ่งออกเป็น 3 ฤดูกาล ดังนี้

                             1)  ฤดูร้อน เริ่มต้นประมาณกลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม
                  ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และเป็นระยะที่

                  ขั้วโลกเหนือหันเข้าหาดวงอาทิตย์  โดยเฉพาะเดือนเมษายนบริเวณประเทศไทยมีดวงอาทิตย์อยู่เกือบ

                  ตรงศีรษะในเวลาเที่ยงวันทําให้ได้รับความร้อนจากดวงอาทิตย์เต็มที่ สภาวะอากาศจึงร้อนอบอ้าว

                  โดยทั่วไป ในฤดูนี้แม้ว่าจะมีอากาศร้อนและแห้งแล้ง แต่บางครั้งอาจมีมวลอากาศเย็นจากประเทศจีน
                  แผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศไทยตอนบน ทําให้เกิดการปะทะกันของมวลอากาศเย็นกับมวลอากาศร้อน

                  ที่ปกคลุมอยู่เหนือประเทศไทย  ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตก

                  ก่อให้เกิดความเสียหายได้ พายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดขึ้นในฤดูนี้มักเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า พายุฤดูร้อน









                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23