Page 13 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 13

1-3






                  โดยแบ่งพื้นที่สํารวจตามระดับความเหมาะสมทางกายภาพ 3 ระดับ คือ พื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง (S1)

                  พื้นที่ที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2) และพื้นที่ที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย (S3)

                             2)  ข้อมูลทุติยภูมิ รวบรวมข้อมูลจากบันทึก เอกสาร รายงาน และผลการศึกษา จากหน่วยงาน
                  ที่เกี่ยวข้อง (จากข้อ 1.4.1)


                        1.4.3  การนําเข้าและวิเคราะห์ข้อมูล

                             การวิเคราะห์ข้อมูลเฉพาะแต่ละด้าน ได้มีการนําเข้าข้อมูลเชิงอรรถาธิบาย ข้อมูลเชิงพื้นที่

                  และข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ผ่านทางโปรแกรมสําเร็จรูปต่างๆ โดยมีการดําเนินงาน
                  ตามลําดับขั้นตอน ดังนี้

                          1)  วิเคราะห์เพื่อประเมินความเหมาะสมของที่ดินด้านกายภาพกับการปลูกทานตะวัน

                  โดยศึกษาร่วมกับสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินและการจัดการพื้นที่
                          2)  วิเคราะห์ข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยวิเคราะห์ข้อมูลการผลิตเพื่อประเมิน

                  ความเหมาะสมของทานตะวันกับสภาพพื้นที่และประเมินผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ

                           (1)  วิเคราะห์ข้อมูลปฐมภูมิ วิเคราะห์การใช้ปัจจัยการผลิต ผลผลิตต่อไร่ ต้นทุน
                  รายได้ ผลตอบแทนและอัตราส่วนของรายได้ต่อต้นทุน จําแนกระดับความเหมาะสมของพื้นที่ รวมทั้ง

                  วิเคราะห์ปัญหา ความต้องการความช่วยเหลือด้านการผลิต และทัศนคติด้านการใช้ที่ดินของเกษตรกร

                  ที่ปลูกทานตะวันจากข้อมูลที่ได้จากการสํารวจ
                           (2)  วิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ ข้อมูลสภาพการผลิตและการตลาดจากค่าสถิติ

                  รายปี จัดทําเป็นตารางและประมวลผลเป็นค่ารวม ค่าเฉลี่ย และค่าร้อยละ

                           (3)  วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจํากัดด้านการผลิตและการตลาด

                  ของทานตะวัน
                          3)  วิเคราะห์พื้นที่เป้าหมายในการผลิตทานตะวัน


                        1.4.4  การกําหนดเขตการปลูกพืชเศรษฐกิจทานตะวัน

                             นําพื้นที่เกษตรกรรมทั้งประเทศมาวิเคราะห์ร่วมกับแผนที่ความเหมาะสมของที่ดิน
                  สําหรับทานตะวัน สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน สภาพปัญหาและความต้องการในพื้นที่ ทัศนคติการใช้ที่ดิน

                  ของเกษตรกร ผลการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิต มาพิจารณาร่วมกันเพื่อหาพื้นที่เป้าหมาย

                  ในการผลิตทานตะวัน เพื่อใช้เป็นกรอบทิศทางในการพัฒนาการผลิต การตลาด และเป็นฐาน
                  ในการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน













                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18