Page 9 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 9

บทสรุปผู้บริหาร



                        ทานตะวันเป็นพืชนํ้ามันที่สําคัญชนิดหนึ่งของประเทศไทย พื้นที่ปลูกทานตะวัน

                  ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคเหนือและภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดลพบุรี นครสวรรค์ สระบุรี และเพชรบูรณ์

                  ตามลําดับ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกทานตะวัน

                  รวมถึงตัวเกษตรกรและผู้ประกอบการมีความชํานาญและมีประสบการณ์สูง ในปีเพาะปลูก

                  2554/55 มีเนื้อที่ยืนต้น 185,600 ไร่ ผลผลิตรวม 24,310 ตัน ซึ่งผลผลิตที่ได้เพื่อการบริโภค

                  ภายในประเทศและส่งออกทํารายได้กลับเข้ามาสู่ประเทศ โดยการส่งออกเมล็ดทานตะวัน

                  เมื่อปี พ.ศ. 2554 มีปริมาณ 145 ตัน คิดเป็นมูลค่า 17.02 ล้านบาท ประเทศคู่ค้าที่สําคัญ

                  ได้แก่ สาธารณรัฐโบลีวาร์แห่งเวเนซุเอลา สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐประชาชนจีน

                  สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ มาเลเซีย ราชอาณาจักรกัมพูชา และญี่ปุ่น เป็นต้น อย่างไรก็ตาม

                  ตลาดส่งออกทานตะวันยังมีความต้องการอีกมาก

                        การกําหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวันเป็นแนวทางหนึ่งที่ทําให้มี

                  การปลูกทานตะวันในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมทั้งทางกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม

                  นําไปสู่การผลิตทานตะวันที่ได้คุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมถึง

                  สามารถนําเขตการใช้ที่ดินไปปรับใช้ให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ เพื่อการวางแผนการผลิต

                  การตลาดและอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน

                  ได้กําหนดขึ้นเฉพาะในภาคเหนือและภาคกลาง รวม 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ ลพบุรี

                  นครสวรรค์ และสระบุรี ตามลําดับ โดยแบ่งเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน

                  ออกเป็น 3 เขต คือ เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมมาก  เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสม

                  ปานกลางและเขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมน้อย มีเนื้อที่ 115,779   177,789 และ 25,460 ไร่


                  ตามลําดับ ซึ่งเน้นในเขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมมาก ให้มีมาตรการด้านการผลิตใน
                  การผลิตทานตะวันฤดูแล้ง เพื่อเป็นทางเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรรวมไปถึงเป็นการเพิ่ม


                  ปริมาณพืชนํ้ามันที่มีคุณค่า ลดการขาดแคลนนํ้ามันพืชในอนาคตได้















                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14