Page 11 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 11

บทที่ 1

                                                         บทนํา



                  1.1  หลักการและเหตุผล

                        ทานตะวันเป็ นพืชนํ้ามันที่มีสําคัญทางเศรษฐกิจรองจากถั่วเหลืองและปาล์มนํ้ามัน

                  และทานตะวันยังเป็นพืชที่ค่อนข้างทนแล้งได้ดี เมื่อเปรียบเทียบกับพืชไร่ชนิดอื่น เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง
                  และถั่วเขียว โดยเมล็ดทานตะวันมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ส่วนนํ้ามันทานตะวันมีกรดไขมันไม่อิ่มตัว

                  สูงกว่านํ้ามันถั่วเหลืองและนํ้ามันปาล์ม จึงเป็นประโยชน์มากกว่านํ้ามันดังกล่าว ซึ่งนํ้ามันทานตะวัน

                  เป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศทั้งเพื่อการบริโภคและใช้ในด้านอุตสาหกรรม

                  เช่น นํ้ามันชักเงา นํ้ามันหล่อลื่น และสีทาบ้าน เป็นต้น (กรมวิชาการเกษตร, 2552)
                        ในปัจจุบันได้เกิดปัญหาด้านความมั่นคงทางอาหารและพลังงานของโลก เนื่องจากความต้องการใช้

                  พืชพลังงาน สินค้าเกษตรและอาหารมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของประชากรโลก แต่ในด้าน

                  อุปทานการผลิตได้ลดลงจากข้อจํากัดด้านพื้นที่ เทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (ภาวะโลกร้อน)
                  จนทําให้เกิดความขัดแย้งระหว่างการใช้พืชเพื่อบริโภคกับใช้เพื่อพลังงาน องค์การอาหาร

                  และการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ได้ประเมินภาพของอาหารโลกในปี 2593 ว่าต้องมีการผลิตอาหาร

                  เพิ่มมากขึ้นกว่าในปัจจุบันจึงจะเพียงพอต่อความต้องการอาหารที่เพิ่มขึ้น หรือประชากรต้องลด
                  การบริโภคอาหารลง และถึงแม้ว่าจะเพิ่มผลผลิตให้ได้ตามความต้องการ แต่ต้นทุนการผลิตและราคาอาหาร

                  ก็จะเพิ่มขึ้นมาก สําหรับประเทศไทยซึ่งเป็นแหล่งการผลิตอาหารโลก วิกฤติอาหารนี้จึงยังเป็นโอกาส

                  ในการพัฒนาสินค้าเกษตรและอาหารเพื่อการส่งออกและการรักษาจุดแข็งในการเป็นฐานการผลิต
                  สินค้าเกษตรและอาหารของโลก หรือเป็นครัวโลกต่อไป โดยการเพิ่มประสิทธิภาพของผลผลิต

                  การใช้เทคโนโลยี การปรับปรุงพันธุ์ การปรับโครงสร้างการผลิต รวมถึงการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์เกษตร

                  ของประเทศ (อาภรณ์, 2555)

                        ดังนั้น จึงได้จัดทําเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวันเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลหนึ่งในการบริหารจัดการ
                  ที่เหมาะสม รวมถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการกําหนดบริเวณการใช้ที่ดินได้ให้ความสําคัญ

                  กับลักษณะทางกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้นําไปใช้ประโยชน์ต่อไป


                  1.2  วัตถุประสงค์

                        1.2.1 เพื่อกําหนดบริเวณการใช้ที่ดินที่เหมาะสม มีศักยภาพ ครอบคลุมทั้งด้านกายภาพ

                  เศรษฐกิจและสังคม

                        1.2.2 เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการกําหนดแผนงานพัฒนาการปลูกทานตะวันในระดับพื้นที่






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16