Page 12 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน
P. 12

1-2






                        1.2.3 เพื่อเป็นข้อมูลในการวางแผนการผลิตและการตลาด สําหรับการบริโภคภายในประเทศ

                  และการส่งออก รวมไปถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวข้อง


                  1.3  ขอบเขตการดําเนินงาน

                        1.3.1 ระยะเวลาดําเนินงาน ตุลาคม 2554 ถึง กันยายน 2555

                        1.3.2 ขอบเขตพื้นที่ศึกษา พื้นที่เกษตรกรรมทั้งประเทศ

                        1.3.3 พืชเศรษฐกิจทานตะวัน เพื่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก


                  1.4  ขั้นตอนและวิธีดําเนินงาน


                        1.4.1  การรวบรวมข้อมูลทั่วไป

                             ข้อมูลทุติยภูมิที่นํามาใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการศึกษาและวิเคราะห์กําหนดเขตการใช้ที่ดิน
                  พืชเศรษฐกิจทานตะวัน ประกอบด้วยข้อมูลเชิงอรรถาธิบายและข้อมูลเชิงพื้นที่ ดังนี้

                          1)  ข้อมูลเชิงอรรถาธิบาย ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาพภูมิประเทศ

                  สภาพภูมิอากาศ ทรัพยากรที่ดิน ทรัพยากรนํ้า ทรัพยากรป่าไม้ การใช้ประโยชน์ที่ดิน สภาพแวดล้อม

                  ที่เหมาะสม วิธีการปลูกและดูแลรักษา สถิติพื้นที่เพาะปลูก สถิติผลผลิตและการค้า ต้นทุนการเพาะปลูก
                  ข้อมูลด้านการตลาดและการส่งออก การแปรรูปและการใช้ประโยชน์ผลิตภัณฑ์ รวมถึงนโยบายรัฐบาล

                  และแผนพัฒนาต่างๆ จากหน่วยงานราชการทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

                  รวมถึงองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร
                  สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรมการค้าภายใน กรมศุลกากร

                  กรมการปกครอง และกรมอุตุนิยมวิทยา เป็นต้น

                          2)  ข้อมูลเชิงพื้นที่ ได้แก่ ข้อมูลที่แสดงในรูปแผนที่ต่างๆ เช่น แผนที่สภาพภูมิประเทศ
                  และขอบเขตการปกครอง แผนที่หน่วยที่ดิน แผนที่สภาพการใช้ที่ดิน แผนที่ป่าสงวนแห่งชาติ

                  แผนที่อุทยานแห่งชาติ แผนที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และแผนที่เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร เป็นต้น


                        1.4.2  การรวบรวมข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
                             1)  ข้อมูลปฐมภูมิ รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เกษตรกรที่ปลูกทานตะวัน

                  ตามแบบสอบถามที่สร้างขึ้น (ได้แก่ ข้อมูลการผลิต ปัญหา ความต้องการความช่วยเหลือด้านการผลิต

                  และทัศนคติด้านการใช้ที่ดิน) โดยวิธีการเลือกพื้นที่แบบเจาะจง (Purposive) ตามจังหวัดที่เป็นแหล่งผลิต

                  สําคัญในภาคเหนือได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์และเพชรบูรณ์  ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดลพบุรีและสระบุรี
                  และทําการสุ่มครัวเรือนเกษตรกรตัวอย่างด้วยวิธี Accidental  Sampling  ได้ตัวอย่างจํานวน 104 ตัวอย่าง









                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทานตะวัน                          สํานักสํารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17