Page 29 - mize
P. 29
2-17
ตารางที่ 2-5 ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เกษตรกรขายได้ ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ และส่งออก
เอฟ.โอ.บี. ปี 2552/53-2561/62
เกษตรกร 1 ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ 1 ส่งออก 1
ปี ขายได้ โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อ ไซโลรับซื้อ เอฟ.โอ.บี.
(บาท/กก.) (บาท/กก.) (บาท/กก.) (บาท/กก.)
2552/53 5.43 7.52 6.63 7.77
2553/54 8.13 9.42 8.60 9.83
2554/55 7.63 9.66 8.58 10.05
2555/56 9.34 10.39 8.35 10.68
2556/57 7.01 8.70 7.57 8.94
2557/58 7.31 9.39 8.51 9.68
2558/59 7.73 9.02 8.28 9.44
2559/60 6.86 8.27 7.08 8.54
2560/61 6.25 9.05 8.23 9.41
2561/62 7.96 9.41 8.73 9.73
2
อัตราการเปลี่ยนแปลง 0.33 0.37 0.79 0.37
(ร้อยละ)
ที่มา: 1. ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร (2557, 2562ก)
2. จากการค านวณ
2.6.2.3 การใช้ภายในประเทศ
ผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เกือบทั้งหมดใช้ภายในประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เป็นวัตถุดิบ
ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์ เมื่อพิจารณาถึงความต้องการใช้ภายในประเทศตั้งแต่ปี 2552/53–
2561/62 พบว่า ความต้องการใช้ในประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.70 ต่อปี เนื่องจากอุตสาหกรรมผลิต
อาหารสัตว์เพิ่มมากขึ้นตามการขยายตัวของการเลี้ยงปศุสัตว์ (ตารางที่ 2-6)
2.6.2.4 การส่งออก
การส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2552/53–2561/62
มีแนวโน้มการส่งออกลดลงร้อยละ 12.35 ต่อปี ปี 2561/62 การส่งออกลดลงร้อยละ 30.00 เนื่องจาก
ความต้องการใช้ภายในประเทศเพิ่มขึ้นท าให้ส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าของไทย ได้แก่ ฮ่องกง เมียนมา
และฟิลิปปินส์ มีปริมาณลดลง (ตารางที่ 2-6)
2.6.2.5 การน าเข้า
การน าเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทยตั้งแต่ปี 2552/53–2561/62
มีแนวโน้มการน าเข้าลดลงร้อยละ 7.75 ต่อปี ปี 2561/62 การน าเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 71.43 เนื่องจาก
การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์ ในขณะที่ผลผลิตในประเทศมีไม่เพียงพอกับความต้องการใช้
(ตารางที่ 2-6)
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน