Page 34 - mize
P. 34

3-4






                          (3) มอดดิน จะกัดกินใบตั้งแต่ข้าวโพดเริ่มงอก ถึงอายุประมาณ 14 วัน ท าให้ต้นอ่อนตาย

                  หรือชะงักการเจริญเติบโต ควรก าจัดวัชพืชที่เป็นพืชอาศัยของมอดดินรองแปลงปลูก และก่อนปลูก
                  ควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยอิมิดาโคลพริด (70 เปอร์เซ็นต์ ดับบลิวเอส) อัตรา 5 กรัมต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม
                          (4) หนู จะท าลายตั้งแต่เริ่มเป็นต้นอ่อนจนถึงเก็บเกี่ยว ควรก าจัดวัชพืชบริเวณแปลงปลูก

                  หรือใช้กรงดักร่วมกับการใช้ซิงค์ฟอสไฟด์ (80 เปอร์เซ็นต์ ชนิดผง) ผสมปลายข้าวและร าข้าว
                          การเก็บเกี่ยว
                          ให้เก็บเกี่ยวขณะต้นอายุประมาณ 110-120 วัน หากเก็บเกี่ยวอายุ 115 วัน เมล็ดจะมี
                  ความชื้นประมาณร้อยละ 25 จะท าให้เกิดการปนเปื้อนของสารอะฟลาทอกซินระหว่างการเก็บรักษา แต่
                  ถ้าเก็บเกี่ยวที่อายุ 125 วัน จะมีความชื้นที่ประมาณร้อยละ 23 หรือต่ ากว่าและค่อนข้างปลอดภัยต่อการ

                  ปนเปื้อนของสารอะฟลาทอกซิน และถ้าเก็บเกี่ยวที่อายุมากกว่า 130 จะมีความชื้นต่ ากว่าร้อยละ 20 ใน
                  กรณีปลูกต้นฤดูฝนจ าเป็นต้องเก็บเกี่ยวที่อายุ 90-100 วัน จะมีความชื้นมากกว่าร้อยละ 30
                        3.1.3 การจ าแนกชั้นความเหมาะสมของหน่วยที่ดิน (land suitability classification)

                            1) ชั้นความเหมาะสมของหน่วยที่ดินจ าแนกออกเป็น 4 ชั้น (class) คือ
                                S1  หมายถึง ชั้นที่มีความเหมาะสมสูง (highly suitable)
                                S2  หมายถึง ชั้นที่มีความเหมาะสมปานกลาง (moderately suitable)
                                S3  หมายถึง ชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย (marginally suitable)

                                N  หมายถึง ชั้นที่ไม่มีความเหมาะสม (not suitable)
                              นอกจากนี้ในแต่ละชั้นความเหมาะสม ยังแบ่งออกเป็นชั้นย่อย (subclass) ซึ่งเป็น
                  ข้อจ ากัดของคุณภาพที่ดินที่มีอิทธิพลรุนแรงที่สุดต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืช
                            2)การประเมินความเหมาะสมของหน่วยที่ดิน โดยการจับคู่ระหว่างความต้องการ

                  ของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินกับคุณภาพที่ดิน ซึ่งจะพิจารณาแต่ละคุณภาพที่ดินในหน่วยที่ดินนั้นๆ
                  ที่มีข้อจ ากัดรุนแรงที่สุดที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตของพืช จะใช้ระดับความเหมาะสม
                  ของคุณภาพที่ดินนั้นเป็นตัวแทนความเหมาะสมรวมของหน่วยที่ดิน
                            จากข้อมูลคุณภาพที่ดินของหน่วยที่ดินจับคู่กับระดับความต้องการปัจจัยต่อการเจริญเติบโต

                  ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง (ตารางที่ 3-1) ได้ดังตารางที่ 3-2 จากนั้นน ามาวิเคราะห์ตามระบบภูมิสารสนเทศ
                  ภูมิศาสตร์ ได้แผนที่ความเหมาะสมของที่ดินส าหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง ดังตารางที่ 3-3 และรูปที่ 3-1
                  ถึงรูปที่ 3-6

























                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง              กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39