Page 32 - mize
P. 32

3-2






                              -  ความเสียหายจากการกัดกร่อน (erosion hazard: e) คุณลักษณะที่ดินที่เป็น

                  ตัวแทน ได้แก่ ความลาดชันของพื้นที่และปริมาณดินที่สูญเสีย
                            2) การวัดและการประเมินคุณภาพที่ดิน
                              เนื่องจากคุณภาพที่ดินเป็นนามธรรมไม่สามารถวัดเป็นค่าเชิงปริมาณได้ จึงวัด

                  จากองค์ประกอบของคุณภาพที่ดิน คือ คุณลักษณะที่ดิน ซึ่งคุณลักษณะที่ดินมีหลายตัวที่ใช้เป็นตัวแทน
                  คุณภาพที่ดินตัวเดียวกัน ดังนั้นจึงมีการคาดคะเน ผลจากการร่วมกันของปัจจัย (diagnostic factors)
                  โดยมีอยู่หลายวิธี ในที่นี้ใช้วิธีการประเมินจากคุณลักษณะที่ดินที่มีข้อจ ากัดรุนแรงที่สุด
                        3.1.2 ความต้องการของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Use Requirement: LUR)
                  แบ่งออกเป็น 3 ด้าน คือ

                            1) ความต้องการด้านพืช (crop requirements) เป็นความต้องการปัจจัยที่มีผลต่อ
                  การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืช ซึ่งประกอบด้วยคุณภาพที่ดิน ดังนี้ ความชุ่มชื้นที่เป็นประโยชน์
                  ต่อพืช ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหาร ความจุในการ

                  ดูดยึดธาตุอาหาร สภาพการหยั่งลึกของราก ความเสียหายจากน้ าท่วม การมีเกลือมากเกินไป และสารพิษ
                            2) ความต้องการด้านการจัดการ (management requirements) เป็นความต้องการ
                  ที่เกษตรกรต้องการด้านเครื่องจักร เครื่องกล ที่ต้องใช้ในการเตรียมดิน การเขตกรรม ความต้องการ
                  ด้านนี้ประกอบด้วยคุณภาพที่ดินเดียว คือ ศักยภาพการใช้เครื่องจักรกล

                            3) ความต้องการด้านการอนุรักษ์ (conservation requirements) เป็นความต้องการ
                  เพื่อให้สามารถใช้ที่ดินได้อย่างยั่งยืน โดยไม่ท าลายคุณภาพของที่ดิน หรือสิ่งแวดล้อมอื่นๆ อันเนื่องมาจาก
                  การใช้ประโยชน์ที่ดินนั้น ความต้องการด้านนี้ประกอบด้วยคุณภาพที่ดินเดียว คือ ความเสียหาย
                  จากการกัดกร่อน

                          ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ (นางสมศรี และคณะ, 2551)
                          (1)  ราก เป็นระบบรากฝอย สามารถงอกได้ประมาณ 60 เซนติเมตร เมื่อเริ่มออกดอก
                  และติดฝักรากจะลดการขยายตัว และหยุดเมื่อฝักเริ่มแก่ ปริมาณรากแต่ละต้น แต่พันธุ์จะมีมากน้อย
                  ต่างกันไปแล้วแต่ลักษณะทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม

                          (2)  ล าต้น มีล าต้นแข็ง ไส้แน่นไม่กลวง ความสูงของล าต้นมีตั้งแต่ 60 เซนติเมตร ขึ้นไปแล้วแต่
                  ชนิดของพันธุ์
                          (3)  ใบ ประกอบไปด้วย กาบใบที่หุ้มล าต้นและมีแผ่นใบกางสลับกันบนส่วนของล าต้น ตัวใบ

                  จะท ามุมกับล าต้นด้วยการยึดแข็งของเส้นกลางใบเพื่อให้ใบได้รับแสง
                          (4)  ดอก จะมีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกัน แต่อยู่ในต้นเดียวกัน ดอกตัวผู้อยู่รวมกันเป็นช่อ
                  เรียกว่า ช่อดอกตัวผู้อยู่ตอนบนสุดของต้น ช่อดอกตัวเมีย เรียกว่า ฝัก อยู่รวมกันเป็นช่อหรือที่ข้อกลางๆ
                  ของล าต้น
                          (5)  เมล็ด เกิดจากการที่ละอองเกสรตัวผู้ที่ตกลงบนเส้นไหมและผสมกับไข่ในรังไข่ การผสมเกสร

                  จะเกิดจากการผสมข้ามต้น โดยเมล็ดติดบนซังเรียงเป็นแถวคู่ มีจ านวนตั้งแต่ 12-20 แถว
                          การปลูก
                          (1)  การเตรียมพื้นที่ ไถด้วยผาลสาม 1 ครั้ง ลึก 20-30 เซนติเมตร ตากดิน 7-10 วัน พรวนด้วย

                  ผาลเจ็ด 1 ครั้ง ปรับระดับดินให้สม่ าเสมอคราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัว และไหลของวัชพืชข้ามปีออก





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง              กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37