Page 33 - mize
P. 33
3-3
(2) การก าหนดระยะปลูก
- ระยะปลูกปกติ ระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 25 เซนติเมตร
- ระยะปลูกถี่ ระยะระหว่างแถว 65-75 เซนติเมตร ระยะระหว่างต้น 20-25 เซนติเมตร
(3) ฤดูปลูก
- ฤดูฝน ปลูกกลางเดือนมีนาคมถึงกรกฎาคม
- ปลายฤดูฝน ปลูกกลางเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคม
- ฤดูแล้ง ปลูกในพื้นที่นาหลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม
(4) วิธีการปลูก
- ปลูกด้วยแรงงาน ใช้จอบขุดเป็นหลุม หรือไถเดินตาม หรือแทรกเตอร์ติดหัวเปิดร่อง
หยอดเมล็ดให้ลึก 2.5-3.0 นิ้ว กลบดินให้แน่น เมื่อข้าวโพดงอกแล้วประมาณ 14 วัน ให้ถอนแยก จะได้
จ านวนต้นข้าวโพด ประมาณ 8,500 ต้นต่อไร่ ถ้าใช้อัตราและระยะปลูกดังนี้
ระยะปลูก 75 × 25 เซนติเมตร หยอด 2 เมล็ดต่อ 1 หลุม ให้ถอนแยกเหลือ 1 ต้น ต่อ 1 หลุม
ระยะปลุก 75 × 50 เซนติเมตร หยอด 3 เมล็ดต่อ 1 หลุม ให้ถอนแยกเหลือ 2 ต้น ต่อ 1 หลุม
ระยะปลูก 75 × 75 เซนติเมตร หยอด 4 เมล็ดต่อ 1 หลุม ให้ถอนแยกเหลือ 3 ต้น ต่อ 1 หลุม
- ปลูกด้วยเครื่องปลูก ใช้รถแทรกเตอร์ลากจูงเครื่องปลูกพร้อมใส่ปุ๋ยติดท้ายปรับให้มี
ระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร ระยะระหว่างหลุม 20 เซนติเมตร จ านวน 1 ต้นต่อหลุม หรืออัตรา
ปลูกประมาณ 10,600 ต้นต่อไร่ ใช้เมล็ด 2-3 กิโลกรัมต่อไร่ โดยไม่ถอนแยก
โรค
(1) โรคราน้ าค้าง หรือโรคใบลาย ระบาดรุนแรงในระยะต้นอ่อนถึงอายุประมาณ 1 เดือน ท าให้
ยอดมีข้อถี่ ต้นแคระแกร็น ใบเป็นทางสีขาว เขียวอ่อน หรือเหลืองอ่อน ไปตามความยาวของใบ พบผงสปอร์
สีขาวเป็นจ านวนมากบริเวณใต้ใบในเวลาเช้ามืดที่มีความชื้นสูง ถ้าระบาดรุนแรงต้นจะแห้งตายแต่ถ้าต้น
อยู่รอดจะไม่ออกฝักหรือติดฝักแต่ไม่มีเมล็ด ควรคลุกเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูกด้วย เมตาแลกซิลอัตรา 7 กรัม
ต่อเมล็ด 1 กิโลกรัม
(2) โรคราสนิม เกิดได้แทบทุกส่วนของต้นข้าวโพด ระยะแรกพบจุดนูนสีน้ าตาลแดงขนาด
0.2-1.3 มิลลิเมตร ต่อมาแผลจะแตกเห็นเป็นผงสีสนิม ถ้าระบาดรุนแรงจะท าให้ใบแห้งตาย (ในแหล่ง
ที่มีโรคระบาดให้ปลูกพันธุ์ต้านทาน ได้แก่ นครสวรรค์ 72 สุวรรณ 3851 หรือสุวรรณ 5) ควรหลีกเลี่ยง
การปลูกข้าวโพดหวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว ซึ่งอ่อนแอต่อโรคและเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
แมลงและศัตรูพืช
(1) หนอนเจาะล าต้นข้าวโพด เจาะเข้าท าลายส่วนยอดช่อดอกตัวผู้ และล าต้น ท าให้ต้น
ชะงักการเจริญเติบโต หักล้มง่าย เมื่อมีการระบาดรุนแรงจะเข้าท าลายฝัก พบการท าลายในแหล่งปลูก
ทั่วไปการป้องกันก าจัดฉีดพ่นสารไซเพอร์เมทริน (15 เปอร์เซ็นต์ อีซี) 10 มิลลิลิตรต่อน้ า 20 ลิตร
และไตรฟลูมูรอน (25 เปอร์เซ็นต์ ดับบลิวพี) 30 กรัมต่อน้ า 20 ลิตร
(2) หนอนกระทู้หอม จะกัดกินทุกส่วนในระยะต้นอ่อน และจะท าความเสียหายรุนแรง
เมื่อหนอนมีความยาวตั้งแต่ 2 เซนติเมตร หากจ าเป็นให้พ่นสารนิวเคลียร์โพลีฮีโดรซิสไวรัส 20-30
มิลลิลิตรต่อน้ า 20 ลิตร และเบตาไซฟลูทริน (2.5 เปอร์เซ็นต์ อีซี) อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ า 20 ลิตร
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน