Page 31 - mize
P. 31

บทที่ 3

                                       การวิเคราะห์เพื่อก าหนดเขตการใช้ที่ดิน



                  3.1  การประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพ
                        การประเมินคุณภาพที่ดิน (qualitative land evaluations) เป็นการพิจารณาศักยภาพของหน่วยทรัพยากร
                  ที่ดินต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ ในระดับการจัดการที่แตกต่างกัน การประเมินคุณภาพที่ดิน

                  ในหลักการของ FAO framework สามารถท าได้ 2 รูปแบบ
                          รูปแบบแรก การประเมินทางด้านคุณภาพหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นการประเมิน
                  เชิงกายภาพว่าที่ดินนั้นๆ เหมาะสมมากหรือน้อยเพียงใดต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ

                          รูปแบบที่สอง การประเมินทางด้านปริมาณหรือด้านเศรษฐกิจ ซึ่งจะให้ค่าตอบแทนในรูป
                  ผลผลิตที่ได้รับ จ านวนเงินในการลงทุน และจ านวนเงินจากผลตอบแทนที่ได้รับ
                        ในที่นี้กล่าวถึงเฉพาะการประเมินคุณภาพที่ดินด้านกายภาพเท่านั้น ซึ่งการประเมินคุณภาพที่ดิน
                  ด้านกายภาพ จะน าประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Utilization Type: LUT) มาประเมิน
                  ว่าคุณภาพที่ดินของแต่ละหน่วยที่ดิน (Land Unit: LU) เหมาะสมต่อประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน

                  รูปแบบใดบ้าง
                        3.1.1 คุณภาพที่ดิน (Land Quality: LQ) คือ สมบัติของหน่วยที่ดินที่มีอิทธิพลต่อการ
                  เจริญเติบโตและผลผลิตของพืช คุณภาพที่ดินอาจประกอบด้วยคุณลักษณะที่ดิน (land characteristic)

                  ตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได้ เช่น ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช มีคุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน
                  ตัวเดียว คือ สภาพการระบายน้ าของดิน  ส่วนความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร มีคุณลักษณะที่ดินที่เป็น
                  ตัวแทนสองตัว คือ ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (Cation Exchange Capacity: CEC) และ
                  ความอิ่มตัวด้วยประจุบวกที่เป็นด่าง (Base Saturation: BS)

                            1) คุณภาพที่ดินที่น ามาประเมินส าหรับการปลูกพืชข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง ได้แก่
                              -  ความเป็นประโยชน์ของออกซิเจนต่อรากพืช (oxygen availability to root: o)
                  คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ สภาพการระบายน้ าของดิน
                              -  ความจุในการดูดยึดธาตุอาหาร (nutrient retention capacity: n) คุณลักษณะ

                  ที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวก (CEC) และความอิ่มตัวด้วยประจุบวก
                  ที่เป็นด่าง (BS)
                              -  สภาวะการหยั่งลึกของราก (rooting condition: r) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน
                  ได้แก่ ความลึกของดิน ความลึกของระดับน้ าใต้ดิน และชั้นการหยั่งลึกของรากพืช (root penetration classes)

                              -  การมีเกลือมากเกินไป (excess of salts: x) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่
                  ปริมาณเกลืออิสระที่สะสมมากเกินพอ จนเป็นอันตรายต่อการเจริญเติบโตของพืช
                              -  สารพิษ (soil toxicities, z) คุณลักษณะที่ดินที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ระดับความลึก
                  ของชั้น jarosite

                              -  ศักยภาพการใช้เครื่องจักร (potential for mechanization: w) คุณลักษณะที่ดิน
                  ที่เป็นตัวแทน ได้แก่ ความลาดชันของพื้นที่ ปริมาณหินโผล่ ปริมาณก้อนหิน และการมีเนื้อดินเหนียวจัด







                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ฤดูแล้ง              กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36