Page 34 - โครงการศึกษาการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของประเทศไทย
P. 34

2-6





                        2.2.3 ภาคตะวันออก

                             พืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่เลือกน ามาศึกษาจากภาคตะวันออก มีจ านวน 6 ชนิดพืช ได้แก่
                  มะม่วงน้ าดอกไม้สีทองบางคล้า มะพร้าวน้ าหอมบางคล้า สับปะรดศรีราชา ทุเรียนปราจีน สับปะรดทอง
                  ระยอง และสับปะรดตราดสีทอง โดยมีคุณลักษณะพิเศษของพืชแต่ละชนิด ดังนี้

                             1)  มะม่วงน้ าดอกไม้สีทองบางคล้า
                                เป็นมะม่วงน้ าดอกไม้สีทองที่มีผลรี ยาว เปลือกบาง สีเหลืองทอง เนียน เนื้อสีเหลือง
                  เข้ม ไม่มีเสี้ยน รสชาติหอมหวาน เมล็ดลีบบาง ปลูกในอ าเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับการขึ้น
                  ทะเบียนวันที่ 2 เมษายน 2551
                             2)  มะพร้าวน้ าหอมบางคล้า

                                หมายถึง มะพร้าวพันธุ์หมูสี มีลักษณะทรงผลเล็กรี ยาว ขนาดผลเล็ก ผิวเปลือกมีสี
                  เขียวอมเหลือง เปลือกนอกบาง ไม่ชุ่มน้ า ก้นผลมี 3 จีบ เนื้อมะพร้าวมีสีขาวขุ่น น้ ามะพร้าวมีกลิ่นหอม
                  คล้ายใบเตย รสชาติหวานเด่น ปลูกในอ าเภอบางคล้า อ าเภอคลองเขื่อน และเมืองฉะเชิงเทรา ของ

                  จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้รับการขึ้นทะเบียนวันที่ 2 เมษายน 2551
                             3)  สับปะรดศรีราชา
                               คือ สับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย เนื้อละเอียด สีเหลืองอ่อน มีความหวานฉ่ า กลิ่นหอม มีน้ า
                  มาก ผลรูปร่างกลมรี ผลสุกมีสีเขียวอมเหลือง ตาสีด าและแบน ตาค่อนข้างตื้น ปลูกในจังหวัดชลบุรี

                  ได้รับการขึ้นทะเบียนวันที่ 15 สิงหาคม 2548
                             4)  ทุเรียนปราจีน
                               หมายถึง ทุเรียน พันธุ์ก้านยาว หมอนทอง ชะนี กระดุมทอง และพันธุ์พื้นเมืองอื่นๆ
                  ที่มีเนื้อแห้ง หนา เส้นใยน้อย หวานมัน ปลูกในเขตอ าเภอเมืองปราจีนบุรี อ าเภอกบินทร์บุรี อ าเภอ

                  ประจันตคาม อ าเภอศรีมหาโพธิ์ และอ าเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ได้รับการขึ้นทะเบียนวันที่ 19
                  กุมภาพันธ์ 2559
                             5)  สับปะรดทองระยอง
                               เป็นสับปะรดสายพันธุ์ควีน ซึ่งขอบใยที่ต้นและจุกมีหนามแหลมสั้น สีชมพูอมแดง

                  รูปผลทรงกระบอก ตาผลใหญ่ ร่องตาลึก เปลือกบาง เมื่อแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีทองทั้งผล เนื้อสีเหลือง
                  เข้มเนื้อแน่น ไม่ฉ่ าน้ า รสชาติเปรี้ยวหวาน รับประทานแล้วไม่กัดลิ้น ปลูกในพื้นที่จังหวัดระยอง ได้รับ
                  การขึ้นทะเบียนวันที่ 8 มิถุนายน 2558

                             6)  สับปะรดตราดสีทอง
                                หมายถึง สับปะรดสายพันธุ์ควีน ที่มีผลใหญ่รูปทรงกระบอก เปลือกบาง ผิวเปลือก
                  สีเหลืองแกมเขียว เนื้อสีเหลืองทอง ไม่ฉ่ าน้ า เยื่อใยน้อย รสชาติหวาน แกนกรอบรับประทานได้ ได้รับ
                  การขึ้นทะเบียนวันที่ 3 สิงหาคม 2558
                        2.2.4 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                             พืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่เลือกน ามาศึกษาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจ านวน 8 ชนิดพืช
                  ได้แก่ ข้าวหอมมะลิดินภูเขาไฟบุรีรัมย์ หอมแดงศรีสะเกษ กระเทียมศรีสะเกษ ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ
                  สับปะรดท่าอุเทน ลิ้นจี่นครพนม ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้ และส้มโอทองดีบ้านแท่น โดยมีคุณลักษณะ

                  พิเศษของพืชแต่ละชนิด ดังนี้
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39