Page 31 - โครงการศึกษาการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของประเทศไทย
P. 31

2-3





                             3)  สับปะรดนางแล

                                เป็นสับปะรดพันธุ์น้ าผึ้งที่ปลูกในต าบลนางแล อ าเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ผลมีรูป
                  ทรงกลม ป้อมเตี้ย เปลือกบาง เนื้อละเอียด เยื่อใยต่ า เนื้อมีสีเหลืองเหมือนน้ าผึ้ง รสชาติหวานฉ่ าจนเป็น
                  ที่กล่าวขานถึงความอร่อย ได้รับการขึ้นทะเบียนวันที่ 8 พฤศจิกายน 2548

                             4) สับปะรดภูแลเชียงราย
                               เป็นสับปะรดในกลุ่มสายพันธุ์ควีน ผลมีขนาดเล็ก เปลือกค่อนข้างหนา เมื่อสุกเปลือก
                  มีสีเหลือง หรือสีเหลืองปนเขียว รสชาติหวานปานกลาง เนื้อสีเหลืองกรอบ มีกลิ่นหอม สามารถ
                  รับประทานได้ทั้งผล ปลูกในจังหวัดเชียงราย ได้รับการขึ้นทะเบียนวันที่ 8 พฤศจิกายน 2548
                             5) ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา

                               เป็นลิ้นจี่พันธุ์ฮงฮวย ที่มีลักษณะผลใหญ่ ทรงยาวรี เปลือกบาง สีแดงอมชมพู หนามสั้น
                  และห่าง เนื้อผลแห้งกรอบ สีขาวขุ่น ไม่แฉะน้ า รสชาติหวาน มีกลิ่นหอม ปลูกในอ าเภอแม่ใจ จังหวัด
                  พะเยา ได้รับการขึ้นทะเบียนวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2558

                             6) สับปะรดห้วยมุ่น
                               เป็นสับปะรดพันธุ์ปัตตาเวีย มีเอกลักษณ์โดดเด่น คือ ผิวบาง ตาตื้น เนื้อหนานิ่ม
                  เนื้อในสีเหลืองน้ าผึ้ง รสชาติหวานหอม ฉ่ าน้ า ไม่ระคายลิ้นเวลารับประทาน เพาะปลูกในจังหวัดอุตรดิตถ์
                  ได้รับการขึ้นทะเบียนวันที่ 13 มิถุนายน 2555

                             7) มะขามหวานเพชรบูรณ์
                                มะขามหวานเพชรบูรณ์ เป็นมะขามที่มีเปลือกสีน้ าตาลเนียน มีเนื้อสวยสม่ าเสมอ หนา
                  นุ่มเหนียว ไม่แข็งกระด้าง มีส่วนที่เรียกว่าสาแหรกน้อยกว่าพันธุ์อื่นๆ รสชาติหวานหอม ปลูกในพื้นที่
                  จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้รับการขึ้นทะเบียนวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2548

                             8) ข้าวก่ าล้านนา
                                ข้าวก่ าล้านนา หรือหลายคนเรียกว่าข้าวเหนียวด า เปลือกมีสีด า เมล็ดเมื่อผ่านขั้นตอน
                  การสีจะเป็นสีม่วงหรือสีด า มักน ามาเป็นวัตถุดิบในการท าขนมหวานในเทศกาลประเพณีต่างๆ ของชาว
                  ล้านนา ปลูกในเขตภาคเหนือตอนบน ได้รับการขึ้นทะเบียนวันที่ 17 กันยายน 2551

                        2.2.2 ภาคกลาง
                             พืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่เลือกน ามาศึกษาจากภาคกลาง มีจ านวน 16 ชนิดพืช ได้แก่ ส้มโอ
                  ขาวแตงกวาชัยนาท ส้มโอนครชัยศรี ส้มโอขาวใหญ่สมุทรสงคราม ลิ้นจี่ค่อมสมุทรสงคราม มะยงชิด

                  นครนายก มะปรางหวานนครนายก พริกบางช้าง มะพร้าวน้ าหอมราชบุรี สับปะรดบ้านคา ชมพู่เพชร
                  มะพร้าวทับสะแก มะพร้าวน้ าหอมบ้านแพ้ว ล าไยพวงทองบ้านแพ้ว มะนาวเพชรบุรี กระท้อนตะลุง
                  และ ละมุดบ้านใหม่ โดยมีคุณลักษณะพิเศษของพืชแต่ละชนิด ดังนี้
                             1)  ส้มโอขาวแตงกวาชัยนาท
                               เป็นส้มโอพันธุ์ขาวแตงกวา ผลทรงกลม ไม่มีจุก ผิวเรียบสีเขียว เป็นมัน ต่อมน้ ามัน

                  ละเอียด เนื้อสีขาวอมเหลือง รสชาติหวานแหลมน า อมเปรี้ยวเล็กน้อย ไม่แฉะน้ า ไม่เหม็นเขียว ไม่ติดลิ้น
                  ปลูกในจังหวัดชัยนาท ได้รับการขึ้นทะเบียนวันที่ 8 มิถุนายน 2548
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36