Page 36 - โครงการศึกษาการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของประเทศไทย
P. 36

2-8





                        2.2.5 ภาคใต้

                             พืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่เลือกน ามาศึกษาจากภาคใต้ มีจ านวน 10 ชนิดพืช ได้แก่ มะพร้าว
                  เกาะพะงัน เงาะโรงเรียนนาสาร ส้มโอทับทิมสยามปากพนัง ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง สับปะรดภูเก็ต ทุเรียน
                  สาลิกาพังงา ข้าวไร่ดอกข่าพังงา ทุเรียนในวงระนอง กล้วยเล็บมือนางชุมพร และข้าวเหลืองปะทิวชุมพร

                  โดยมีคุณลักษณะพิเศษของพืชแต่ละชนิด ดังนี้
                             1)  มะพร้าวเกาะพะงัน
                                เป็นมะพร้าวที่ปลูกในอ าเภอเกาะพะงัน มีผลกลมรียาว เปลือกและเส้นใยมีความ
                  เหนียว กะลาสีน้ าตาลแก่ เนื้อมะพร้าวขาวใส เนื้อแน่น 2 ชั้น รสชาติหวานมัน หอมกะทิสดเป็น
                  เอกลักษณ์ ได้รับการขึ้นทะเบียนวันที่ 1 กันยายน 2551

                             2)  เงาะโรงเรียนนาสาร
                                เป็นเงาะพันธุ์โรงเรียน ผลทรงกลม เปลือกบาง เนื้อหนา แห้ง กรอบล่อน รสชาติหวาน
                  หอม ปลูกในเขตพื้นที่อ าเภอนาสาร อ าเภอนาเดิม และอ าเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับการ

                  ขึ้นทะเบียนวันที่ 30 ตุลาคม 2557
                             3)  ส้มโอทับทิมสยามปากพนัง
                                หมายถึง ส้มโอพันธุ์ทับทิมสยาม ที่มีรสชาติหวานนุ่ม สีของเนื้อสีชมพูเข้ม คล้ายสีทับทิม
                  จนถึงสีแดง ผิวผลนุ่มดังก ามะหยี่ ปลูกในอ าเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับการขึ้นทะเบียนวันที่

                  13 กันยายน 2553
                             4)  ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง
                                หมายถึง ข้าวเจ้าพันธุ์สังข์หยด เป็นข้าวเจ้าพันธุ์พื้นเมืองพันธุ์เบา ข้าวนาสวน ไวต่อแสง
                  ปลูกฤดูนาปีในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ได้รับการขึ้นทะเบียนวันที่ 14 มีนาคม 2549

                             5)  สับปะรดภูเก็ต
                                เป็นสับปะรดที่อยู่ในกลุ่มสายพันธุ์ควีน ใบมีสีเขียวอ่อนแถบแดงบริเวณกลางใบ
                  ผลรูปทรงกระบอก ขนาดกลาง หนัก 0.9-1.6 กิโลกรัม ตาลึก เนื้อมีสีเหลืองเข้มสม่ าเสมอ กลิ่นหอม
                  เยื่อใยน้อย รสชาติหวานกรอบ แกนกรอบรับประทานได้ ได้รับการขึ้นทะเบียนวันที่ 26 ตุลาคม 2550

                             6)  ทุเรียนสาลิกาพังงา
                                เป็นทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองของพังงา มีลักษณะผลกลม เปลือกบาง หนามสั้นและถี่ เนื้อหนา
                  ละเอียด สีเหลืองเข้ม กลิ่นหอม แต่ไม่ฉุนมาก แกนกลางเปลือกทุเรียนจะมีสีสนิมแดง เมล็ดลีบ รสชาติหวาน

                  ปลูกในอ าเภอกะปง ของจังหวัดพังงา ได้รับการขึ้นทะเบียนวันที่ 12 กันยายน 2557
                             7)  ข้าวไร่ดอกข่าพังงา
                                เป็นข้าวไร่พันธุ์พื้นเมืองที่มีสีน้ าตาลแดงอมม่วง สีแดง หรือสีแดงแกมขาว เป็นข้าว
                  ไวต่อแสง เมล็ดเรียวยาว เมื่อหุงสุกมีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย หุงขึ้นหม้อ ไม่แข็ง รสชาติอร่อย ปลูกในพื้นที่
                  อ าเภอตะกั่วทุ่ง ท้ายเหมือง และอ าเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา ได้รับการขึ้นทะเบียนวันที่ 12 กันยายน 2557

                             8)  ทุเรียนในวงระนอง
                                หมายถึง ทุเรียนพันธุ์หมอนทอง ผลทรงกลมรี มีร่องพูชัดเจน เปลือกบาง หนามถี่
                  สีเขียว เนื้อหนา เนียน ละเอียด สีเหลืองทอง เมล็ดลีบ รสชาติ หวาน หอม มัน กรอบ กลิ่นไม่ฉุน ปลูกใน

                  ต าบลวงในเหนือ และวงในใต้ อ าเภอละอุ่น จังหวัดระนอง ได้รับการขึ้นทะเบียนวันที่ 27 กันยายน 2560
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41