Page 37 - โครงการศึกษาการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของประเทศไทย
P. 37
2-9
9) กล้วยเล็บมือนางชุมพร
หมายถึงกล้วยเล็บมือนางที่มีลักษณะผลเล็ก ปลายผลเรียว เรียงติดกันคล้ายนิ้วมือ ผล
และเนื้อมีสีทอง เปลือกบาง เนื้อนุ่มรสหวาน มีกลิ่นหอม ปลูกในพื้นที่จังหวัดชุมพร ได้รับการขึ้นทะเบียน
วันที่ 5 มิถุนายน 2556
10) ข้าวเหลืองปะทิวชุมพร
หมายถึง ข้าวเจ้าพันธุ์เหลืองประทิว 123 เป็นข้าวเจ้าพื้นเมืองพันธุ์หนัก ไวต่อแสง
ปลูกได้เฉพาะนาปี ตามระบบข้าวอินทรีย์ มีเปลือกเป็นสีเหลือง เมื่อสีเป็นข้าวกล้องมีสีเหลืองอ่อน ยาว
เรียว ปลูกในจังหวัดชุมพร ได้รับการขึ้นทะเบียนวันที่ 26 กันยายน 2550
2.3 การวิเคราะห์ขอบเขตสภาพการใช้ที่ดินพืช GI
2.3.1 ภาคเหนือ พืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่เลือกน ามาศึกษาจากภาคเหนือ มีจ านวน 8 ชนิดพืช
ได้แก่ กล้วยไข่ก าแพงเพชร ล าไยเบี้ยวเขียวล าพูน สับปะรดนางแล สับปะรดภูแลเชียงราย ลิ้นจี่แม่ใจ
พะเยา สับปะรดห้วยมุ่น มะขามหวานเพชรบูรณ์ และข้าวก่ าล้านนา โดยมีขอบเขตสภาพการใช้ที่ดิน
พืช GI ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ (ภาพผนวก ข-1 ถึง ภาพผนวก ข-48)
1) กล้วยไข่ก าแพงเพชร
พื้นที่ปลูกกล้วยไข่ก าแพงเพชร มีเนื้อที่ 25,647 ไร่ กระจายอยู่ในอ าเภอต่างๆ ของ
จังหวัดก าแพงเพชร โดยปลูกมากในพื้นที่ อ าเภอบึงสามัคคี อ าเภอคลองขลุง อ าเภอทรายทองวัฒนา
และอ าเภอเมืองก าแพงเพชร เป็นต้น รายละเอียดดังภาพผนวก ข-1
2) ล าไยเบี้ยวเขียวล าพูน
พื้นที่ปลูกล าไยเบี้ยวเขียวล าพูน มีเนื้อที่ 28,751 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ต าบลต่างๆ ของ
อ าเภอเมืองล าพูน จังหวัดล าพูน 6 ต าบล คือ ต าบลหนองช้างคืน อุโมงค์ เหมืองง่า ต้นธง ริมปิง และ
ประตูป่า อ าเภอเมืองล าพูน จังหวัดล าพูน รายละเอียดดังภาพผนวก ข-2
3) สับปะรดนางแล
พื้นที่ปลูกสับปะรดนางแล มีเนื้อที่ 6,550 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ต าบลนางแล อ าเภอเมือง
เชียงราย จังหวัดเชียงราย รายละเอียดดังภาพผนวก ข-3
4) สับปะรดภูแลเชียงราย
พื้นที่ปลูกสับปะรดภูแลเชียงราย มีเนื้อที่ 11,983 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ต าบลนางแล
ต าบลท่าสุด และต าบลบ้านดู่ อ าเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โดยมีการปลูกมากในพื้นที่ต าบล
บ้านดู่ และ ต าบลนางแล รายละเอียดดังภาพผนวก ข-4
5) ลิ้นจี่แม่ใจพะเยา
พื้นที่ปลูกลิ้นจี่แม่ใจพะเยา มีเนื้อที่ 13,032 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อ าเภอแม่ใจ จังหวัด
พะเยา ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดพะเยา โดยปลูกมากในพื้นที่ต าบลศรีถ้อย ต าบล
เจริญราษฎร์ และต าบลแม่สุก เป็นต้น รายละเอียดดังภาพผนวก ข-5