Page 29 - โครงการศึกษาการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของประเทศไทย
P. 29
บทที่ 2
ข้อมูลทั่วไป
2.1 นิยามและความหมาย
2.1.1 สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) เป็นทรัพย์สินทางปัญญา
ประเภทหนึ่ง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีความเชื่อมโยง (Links) ระหว่างปัจจัยส าคัญสองประการ คือ
ธรรมชาติและมนุษย์ กล่าวคือ ชุมชนได้อาศัยลักษณะเฉพาะที่มีอยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์ตามธรรมชาติ เช่น
สภาพดินฟ้าอากาศ หรือวัตถุดิบเฉพาะในพื้นที่ มาใช้ประโยชน์ในการผลิตสินค้าในท้องถิ่นของตนขึ้นมา
ท าให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะพิเศษที่มาจากพื้นที่ดังกล่าว คุณลักษณะพิเศษนี้อาจหมายถึง คุณภาพ
ชื่อเสียงหรือคุณลักษณะเฉพาะอื่นๆที่มาจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นๆ (ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญาและ
บ่มเพาะวิสาหกิจ, 2564 ; กรมทรัพย์สินทางปัญญา, 2564)
2.1.2 ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย หมายถึง ตราของกรมทรัพย์สินทางปัญญาที่ออก
ให้แก่ผู้ผลิตสินค้า GI เพื่อรับรองว่าเป็นสินค้าที่มาจากแหล่งภูมิศาสตร์ที่ได้รับขึ้นทะเบียนไว้ โดยต้อง
ปฏิบัติตามคู่มือและแผนการควบคุมนั้นแล้ว (กรมทรัพย์สินทางปัญญา, 2564)
2.1.3 ที่ดิน (Land) หมายถึง ที่ดินที่มีอยู่ตามธรรมชาติ อันอาจใช้ประโยชน์สนองความต้องการ
ของมนุษย์ในทางต่างๆ โดยค านึงถึงผลตอบแทนจากการใช้ประโยชน์ที่ดินนั้นเป็นประการส าคัญ ความ
แตกต่าง "ที่ดิน" และ "ดิน" "ที่ดิน" เป็นอสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่ง หรือเป็นพื้นที่บริเวณหนึ่งบนผิวโลก
ซึ่งมีการแบ่งอาณาเขตตามที่มนุษย์ก าหนดไว้ โดยที่ดินมีลักษณะเป็น 2 มิติ คือ กว้างกับยาว ส่วน "ดิน"
เป็นเทหวัตถุธรรมชาติอย่างหนึ่ง ประกอบกันขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของภูมิประเทศหรือของที่ดิน มีลักษณะ
เป็น 3 มิติ (three dimensions) คือ กว้าง ยาว และลึก โดยที่ดินแปลงหนึ่งอาจจะประกอบด้วยดินเพียง
ชนิดเดียวหรือหลายชนิดก็ได้ (กองส ารวจและและวิจัยทรัพยากรดิน, 2564)
2.1.4 ดิน (Soil) หมายถึง เทหวัตถุธรรมชาติ (natural body) ที่เกิดจากการสลายตัวของหิน
และแร่ธาตุต่างๆ ผสมคลุกเคล้ากับอินทรียวัตถุ ซึ่งปกคลุมผิวดินโลก อยู่เป็นชั้นบางๆ เป็นวัตถุที่ค้ าจุน
การเจริญเติบโตและการทรงตัวของพืช ดินประกอบด้วยแร่ธาตุที่เป็นของแข็ง อินทรียวัตถุ น้ า และ
อากาศ ที่มีสัดส่วนแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของดิน (ภาควิชาปฐพีวิทยา, 2548)
2.1.5 การพัฒนาที่ดิน (land development) หมายถึง การปฏิบัติการใดๆ ในอันที่จะท าให้การใช้
ที่ดินบังเกิดผลดี หรือมีประโยชน์ต่อประชากรและประเทศชาติโดยส่วนรวมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และ
การเมือง มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ดังนั้นพอจะแบ่งหลักการพัฒนาที่ดินออกได้เป็น 2 อย่าง คือ
1) พัฒนาที่ดินที่ยังไม่เคยใช้ประโยชน์ให้มาอยู่ในรูปที่ใช้ประโยชน์ในกิจกรรมต่างๆ เช่น ด้านเกษตรกรรม
อุตสาหกรรม พาณิชย์กรรม และที่อยู่อาศัย เป็นต้น 2) พัฒนาที่ดินที่ใช้ประโยชน์อยู่แล้วให้ได้รับประโยชน์
หรือผลตอบแทนอย่างเต็มที่ โดยวิธีการพัฒนาและปรับปรุงบ ารุงดินด้วยวิธีการต่างๆ
2.1.6 ประเภทของการใช้ที่ดิน เป็นชนิดหรือระบบการใช้ที่ดินที่กล่าวถึงสภาพการผลิตและ
เทคนิคในการด าเนินการในการใช้ที่ดิน ทั้งทางด้านกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ได้แก่ ชนิดพืชที่ปลูก
เงินทุน แรงงาน เครื่องจักร ขนาดฟาร์ม ลักษณะถือครองที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานที่ต้องการ การจัดการวัสดุ
ที่ใช้ในฟาร์ม เป้าหมายของการผลิต ผลผลิต ผลตอบแทนที่ได้รับ เป็นต้น (กองวางแผนการใช้ที่ดิน, 2535)