Page 25 - โครงการศึกษาการจัดทำฐานข้อมูลสารสนเทศพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของประเทศไทย
P. 25

บทที่ 1

                                                          บทน ำ


                  1.1  หลักกำรและเหตุผล

                        ประเทศไทยมีความได้เปรียบทางด้านของทรัพยากรธรรมชาติ และความเหมาะสมด้านเกษตรกรรม
                  ดังนั้นการศึกษาและจัดท าข้อมูลสารสนเทศพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ มีส่วนส าคัญอย่างยิ่งที่จะท าให้ไทยมีการ

                  พัฒนาด้านการเกษตรให้อยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้เมื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งนี้ กลุ่ม
                  วางแผน บริหารจัดการพื้นที่ชุ่มน้ า กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดินเห็นความส าคัญของการอนุรักษ์พันธุ์พืช
                  บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ซึ่งเป็นพืชที่มีความโดดเด่นที่ปลูกในประเทศไทยเพียงแห่งเดียว และเพื่อเป็นการคุ้มครอง
                  ทรัพยากรดินที่เหมาะสมส าหรับพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พร้อมทั้งส่งเสริมการปรับปรุงบ ารุงดินให้มีสภาพ

                  เหมาะสมต่อพืชดังกล่าวตลอดไป อีกทั้งเป็นการศึกษาปัจจัยทางกายภาพที่เป็นตัวก าหนดความโดดเด่น
                  ของพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์แต่ละชนิดของประเทศไทย พร้อมทั้งจัดท าฐานข้อมูลโดยจ าแนกระดับชั้นของพืช
                  บ่งชี้ดังกล่าวเพื่อสนับสนุนงานวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อขยายผลในการพัฒนาแผนการผลิตพืชไปในพื้นที่
                  อื่นๆ เป็นการรักษาพันธุ์พืช และพัฒนาพันธุ์พืชบางชนิดให้กลับมามีความหลากหลายทางชีวภาพเช่นเดิม

                  ทั้งนี้รัฐบาลควรมีนโยบายสนับสนุนเพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่เกษตรกรในจังหวัดต่างๆ ที่มีการปลูกพืช GI
                  ดังกล่าว โดยเจ้าหน้าที่ภาครัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนในการพัฒนาการผลิตสินค้าเกษตรทั้งระบบ
                  โดยการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ให้ได้มาตรฐาน เพื่อสนับสนุนให้
                  เกษตรกรมีความมั่นคงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ภายใต้ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างสินค้าเกษตรของ

                  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะพัฒนาการเกษตรทั้งระบบเริ่มตั้งแต่การผลิต การแปรรูป
                  และการตลาดแบบครบวงจร เพื่อสร้างความมั่นคงด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร
                        ดังนั้น เพื่อให้ฐานข้อมูลสารสนเทศพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของประเทศไทย มีความถูกต้อง
                  และเป็นปัจจุบัน สามารถใช้สนับสนุนการตัดสินใจในการพัฒนาและส่งเสริมพืช GI ให้เหมาะสมกับสภาพ

                  พื้นที่ทางด้านกายภาพ เป็นการคุ้มครองทรัพยากรดินที่เหมาะสมส าหรับพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และ
                  ส่งเสริมการปรับปรุงบ ารุงดินให้มีสภาพเหมาะสมต่อพืชดังกล่าว เพื่อรักษาคุณภาพของผลผลิตพืช GI
                  ให้คงที่ ได้มาตรฐานการผลิต อันจะส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้ และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากการได้รับปริมาณ
                  ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น โดยใช้ปัจจัยการผลิตอย่างเหมาะสมตามศักยภาพของที่ดิน กลุ่มวางแผนบริหาร

                  จัดการพื้นที่ชุ่มน้ า กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน จึงจ าเป็นต้องจัดท าโครงการศึกษาและจัดท าฐานข้อมูล
                  สารสนเทศพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของประเทศไทยขึ้น

                  1.2  วัตถุประสงค์
                        1.2.1 เพื่อศึกษาปัจจัยทางกายภาพที่เป็นตัวก าหนดความโดดเด่นของพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ชนิดต่างๆ
                  ของประเทศไทย

                        1.2.2  เพื่อคุ้มครองทรัพยากรดินที่เหมาะสมส าหรับพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และส่งเสริมการ
                  ปรับปรุงบ ารุงดินให้มีสภาพเหมาะสมต่อพืชดังกล่าวตลอดไป
                        1.2.3 เพื่อใช้เป็นกรอบแนวทางในการขยายผลแผนพัฒนาพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในอนาคตแบบ

                  บูรณาการ





                  โครงการศึกษาและจัดท าฐานข้อมูลสารสนเทศพืชบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ของประเทศไทย   กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30